บทบาทของเอสซีจีกับอนาคตพลังงานโซลาร์ไทยที่น่าจับตามอง

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ในบ้านตนเองมากขึ้นปฏิเสธไม่ได้ว่าการ Work from Home ผนวกกับภาวการณ์กึ่งล็อคดาวน์ทำให้ค่าใช้จ่ายในบ้านเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าบางบ้านเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 30-50  หลายคนจึงเริ่มมองถึงตัวเลือกที่จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า…ไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์ “วันนี้การติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา หรือโซลาร์รูฟเพื่อผลิตไฟฟ้า ผมถือว่าถูกกว่าราคาไฟฟ้าที่เราซื้อจากสายส่ง ยกตัวอย่าง บ้านเดี่ยวขนาดกลางที่มีแอร์ 2 เครื่อง มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น ตู้เย็น ทีวี ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 3,500-4,500 บาทต่อเดือน สามารถลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 1,400-1,900 บาท” คุณมงคล เฮงโรจนโสภณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าว มุ่งหน้าสู่ Net Zero แม้ว่าเอสซีจีจะเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาจับธุรกิจพลังงานโซลาร์เพียงไม่กี่ปี แต่ก่อนหน้านี้ได้ศึกษาเรียนรู้และเริ่มดำเนินการจากภายในองค์กรมานาน ล่าสุดพัฒนาจนเกิดนวัตกรรมที่ทนทาน ประหยัด และเป็นที่ยอมรับขององค์กรต่าง ๆ ที่นำไปใช้  สำหรับเอสซีจี คุณมงคลเล่าว่า การที่เราตั้งเป้าการเป็นธุรกิจเชิงยั่งยืน กับประเด็นโลกร้อน หรือ Climate Change ที่วันนี้ก้าวเข้าสู่ “Climate Emergency” ในระดับโลกแล้ว เรามีการพูดกันในระดับองค์กรมาหลายปีแล้ว ล่าสุดเมื่อปลายปี […]

5 อันดับ วัสดุ “รักษ์โลก” ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม

blank

แพ็กเกจจิ้งเครื่องดื่มเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินกันว่าในปี 2022 มูลค่าของสินค้าในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะสูงถึง 980.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความสนใจของสังคมที่สนับสนุนการใช้งานบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ชวนให้คิดว่า “วัสดุที่เราใช้ผลิตภาชนะใส่เครื่องดื่มนั้น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?” จากบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ THE CONVERSATION ของ ศาสตราจารย์เอียนวิลเลียมส์ และ อลิซโบร้ค แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน ได้นำเสนอผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัสดุซึ่งใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มทั้ง 5 ชนิด เอสซีจี เคมิคอลส์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศและระดับภูมิภาค จึงได้เรียบเรียงเนื้อหาขึ้นมาใหม่ไว้ในบทความนี้ และเรามาดูกันว่า “พลาสติก” นั้นจะถูกจัดอยู่ในอันดับที่เท่าไร อันดับที่ 5 ขวดแก้ว หลายคนอาจจะประหลาดใจว่าทำไมวัสดุอย่างแก้วถึงอยู่ท้ายสุดของการจัดอันดับ เพราะตามความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ เข้าใจว่าแก้วนั้นน่าจะวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่จากผลวิจัยเผยให้เห็นว่า วัสดุที่เราคิดว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดนั้น กลับใช้วัตถุดิบและพลังงานตลอดทั้งกระบวนการมากที่สุดในการจัดอันดับนี้  การผลิตแก้วนั้นเริ่มต้นจากการขุดทรายแก้ว (silica sand) และโดโลไมท์ (dolomite) ซึ่งการทำเหมืองแร่ทั้งสองชนิดนี้สร้างมลพิษปริมาณมหาศาลและเป็นอันตรายต่อปอดอย่างมาก โดยคนงานที่อยู่ในเหมืองดังกล่าวมักเป็นโรคปอดจากฝุ่นหิน หรือโรคซิลิโคซิส (Silicosis) ขั้นตอนการหลอมแร่ทั้งสองนี้ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานที่สูงมาก และเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ที่ใช้ก็เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นพลังงานสิ้นเปลืองที่ได้จาก น้ำมัน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ โดยในขั้นตอนนี้ยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกด้วย จากการวิเคราะห์ของศาสตราจารย์ เอียน วิลเลียมส์ และ อลิซ โบร้ค […]

สรุป 6 เรื่องห้ามพลาด โอกาสเติบโตของพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย

blank

มาแน่!! เทรนด์การใช้ #พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ทั่วโลกจับตามองเพราะดีต่อโลกไม่สร้างมลพิษและยังมีประโยชน์ได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า! วันนี้ชวนเพื่อน ๆ ไปดู สรุป6เรื่องห้ามพลาด ของทิศทางพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย☀️ จาก Live Talk #GreenLive SCG Solar x GreenNews โดยคุณมงคล เฮงโรจนโสภณ  ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 📌 เทรนด์พลังงานหมุนเวียนเทรนด์มาแรงตอบโจทย์ยุค 4.0 เมื่อทั่วโลกเริ่มหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอุตสาหกรรมและบ้านที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และช่วยลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมถูกใจ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเลยครับ 📌 ติดโซลาร์ประโยชน์คูณ 2 เซฟเงินเราเบาภาระโลก ได้ประโยชน์แบบเต็ม ๆ นอกจากจะได้ใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ช่วยเซฟค่าไฟฟ้าในช่วงที่เราต้อง WFH แบบนี้ แถมยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุของโลกร้อน  📌 SCG Floating Solar Solutions โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจรจากเอสซีจีรายแรกในประเทศไทย เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าของแหล่งน้ำให้มีประโยชน์ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไว้ใช้ได้ ติดตั้งง่าย รวดเร็ว แน่นหนา รองรับการติดตั้งหลายรูปแบบ […]

จากป่าโกงกาง.. สู่หญ้าทะเล ปลูกอย่างไรให้ลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

blank

‘ป่าโกงกาง’ และ ‘หญ้าทะเล’ เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ถึงความพิเศษของพืชทะเลทั้งสองชนิดนี้สักเท่าไหร่ อาจเพราะวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใกล้ชิดทะเลเท่าชาวประมงหรือคนท้องถิ่น ที่จะรับรู้ได้ถึงความต่างระหว่าง ‘การมีอยู่’ กับ ‘การสูญสลาย’ ไปของพวกมัน ทั้งที่ล้วนส่งผลกระทบต่อเราทุกคนและสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ทั้งสิ้น นั่นก็คือการนำไปสู่ ‘ปัญหาภาวะโลกร้อน’     บทเรียนจาก ‘ชุมชนบ้านมดตะนอย’  ชุมชนบ้านมดตะนอย อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ดี ด้วยอาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านที่ทำประมงเป็นหลัก ซึ่งต้องเลี้ยงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำอย่าง กุ้ง หอย ปู ปลา พวกเขาพบว่าสัตว์น้ำมีจำนวนลดลงอย่างมาก หลังจากหลายสิบปีก่อนที่พื้นที่บริเวณนี้ได้สัมปทานนำไม้โกงกางมาเผาเป็นถ่าน เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ   สัตว์น้ำลดลง ลมร้อนรุนแรง เมื่อ ‘ป่าโกงกาง’ หรือ ‘ป่าชายเลน’ ถูกทำลายมากขึ้น สัตว์น้ำก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากป่าโกงกางเป็นทั้งพื้นที่หลบภัยและวางไข่ของบรรดาสัตว์น้ำน้อยใหญ่มากมาย อีกทั้งชาวบ้านยังพบการกัดเซาะของน้ำและลมร้อนที่ปะทะรุนแรงขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2537 ชุมชนจึงได้ทำความตกลงยกเลิกการประกอบอาชีพทำถ่าน แล้วเปลี่ยนมาปลูกไม้โกงกางทดแทน จนทำให้ป่าโกงกางรอบชุมชนบ้านมดตะนอยมีเพิ่มประมาณ 3,000 ไร่ พร้อมตั้งกติกาชุมชน ให้นำไม้โกงกางไปใช้ในครัวเรือนได้ แต่ไม่สามารถนำไปจำหน่าย โดยจัดสรรเป็นพื้นที่อนุรักษ์อยู่ที่ประมาณ 200 […]

เปลี่ยน.. เพื่อ ‘ฟุตบอล’ ที่คุณแคร์

blank

ความสุขอย่างหนึ่งของคอบอล คือการได้เข้าไปอยู่ในสนามจริง เพื่อเชียร์ฟุตบอลทีมโปรดพร้อมบรรดาแฟนบอลอีกหลายร้อยชีวิต ทั้งเสียงเชียร์ที่ดังก้องสเตเดียม ธงที่โบกสะบัดไปมา และเสียงฝีเท้าจากนักฟุตบอลที่กำลังโลดแล่นอยู่บนสนาม  น่าเสียดายที่เสน่ห์ของกีฬายอดนิยมระดับโลกนี้ อาจไม่มีให้สัมผัสอีกต่อไป โดยเฉพาะแฟนฟุตบอลอังกฤษที่อาจต้องน้ำตาตก เพราะภายในปี 2050 หรือเพียงแค่ไม่กี่สิบปีนับจากนี้ สนามฟุตบอลของสโมสรในอังกฤษถึงเกือบหนึ่งในสี่จะถูกน้ำท่วมทุกปี สาเหตุจาก ‘ปัญหาภาวะโลกร้อน’  ซึ่งขณะนี้สนามของทีมสโมสรเซาแทมป์ตัน (Southampton), นอริช ซิตี้ (Norwich City), เชลซี (Chelsea) และเวสต์ แฮม ยูไนเต็ด (West Ham United) ก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยงนี้อยู่ ตัวเลขดังกล่าวเป็นผลวิจัยจากกลุ่มพันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว (Rapid Transition Alliance) กลุ่มนักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวนานาชาติ ที่รายงานเพิ่มเติมว่า ไม่ใช่แค่กีฬาฟุตบอลเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่กีฬาชนิดอื่นอย่างเทนนิส รักบี้ กรีฑา และกีฬาฤดูหนาว ต่างก็ต้องพบกับอุปสรรคร้ายแรงนี้ด้วย โดยภายในปี 2050 จาก 19 สถานที่ที่เคยใช้จัดแข่งขันกีฬาฤดูหนาว จะเหลืออยู่แค่เพียง 10 แห่งเท่านั้น  การที่สนามฟุตบอลอังกฤษทั้ง 4 แห่ง เริ่มส่งสัญญาณความเสี่ยงออกมาบ้างแล้ว […]

‘เปลี่ยน…เพื่อโลกที่คุณแคร์’ สุดยอดแคมเปญจาก SCG ที่กระตุกใจให้เราอยากเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

blank

สิ่งที่เรารักก็เปรียบเสมือนโลกทั้งใบของเรา เชื่อว่าเราทุกคนคงอยากจะทำในสิ่งที่ชอบ ใช้เวลาในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งเหล่านั้น เช่น โลกใต้ท้องทะเลของคนที่รักการดำน้ำ หรือโลกที่เป็นเหมือนสนามฟุตบอลอันกว้างใหญ่ของคนที่ชอบฟุตบอล แต่ถ้าวันหนึ่งโลกเหล่านั้นต้องถูกทำลายลงเพราะปัญหาภาวะโลกร้อนก็คงเสียใจไม่น้อย ซึ่งแน่นอนว่าเราทุกคนต่างมีสิ่งที่รักไม่เหมือนกัน การจะต้องเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ด้วยการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่อาจดูเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้นอาจไม่ต้องเป็นการเปลี่ยนเพื่อช่วยโลกทั้งใบ แต่เปลี่ยนเพื่อช่วยโลกใบที่คุณรัก โลกใบที่คุณแคร์ก็เพียงพอ เมื่อรวมกันก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้แล้ว ซึ่งวันนี้จะลองพาไปดูแคมเปญจาก SCG ที่มากับแนวคิด “เปลี่ยน…เพื่อโลกที่คุณแคร์” ในแคมเปญนี้ได้จับเอา insight ในสิ่งที่ชอบของแต่ละคน มานำเสนอให้เข้าใจถึงโลกในมุมมองที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่จะมาทำลายโลกเหล่านั้นเหมือน ๆ กันคือ ปัญหาภาวะโลกร้อน โดย SCG พาเราย้อนมองตัวเองว่าเราแต่ละคนสามารถเปลี่ยนบางสิ่งเพื่อโลกที่เราแคร์ได้อย่างไรบ้าง ผ่านทั้งวิดีโอโฆษณา บทความ รายการ ซึ่งการเปลี่ยนเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีอะไรบ้างเดี๋ยว Ad Addict จะพาไปดูกัน! หนังโฆษณาสะท้อนแนวคิด ที่ทุกชีวิตล้วนมี Passion ที่แตกต่างกันไป SCG ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่รณรงค์ทำแคมเปญเพื่อสื่อสารเรื่องราวเพื่อให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงภาวะโลกร้อนมาตลอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ก็มีแคมเปญที่น่าสนใจผ่านแนวคิด “เปลี่ยน…เพื่อโลกที่คุณแคร์” โดยเป็นหนังโฆษณาที่เปรียบสิ่งที่เรารักเป็นโลกทั้งใบของเรา และเราก็คงไม่อยากให้โลกใบที่เราแคร์ต้องหายไป… สิ่งที่เรารักก็เปรียบเสมือนโลกทั้งใบของเรา หนังโฆษณาในแคมเปญนี้จึงสื่อสารเรื่องราวของภาวะโลกร้อนที่อยู่ใกล้ตัวเรา โดยเล่าเรื่องผ่านมุมมองในโลกที่แตกต่างกัน เช่น โลกของเด็กสาวที่หลงใหลในรสชาติของช็อกโกแลต, โลกที่เป็นเหมือนสนามฟุตบอลอันกว้างใหญ่ของเด็กหนุ่ม, โลกใต้ทะเลของหญิงสาวที่รักในการดำน้ำ และ โลกที่เต็มไปด้วยเด็กน้อยน่ารักของคู่สามีภรรยา แต่จู่ ๆ โลกที่พวกเขาแคร์นั้น ก็ล่มสลายด้วยสาเหตุจากภาวะโลกร้อน พร้อมข้อความที่ทำให้เราฉุกคิดถึงความสำคัญของการรักษ์โลกเหล่านี้ ปี 2048 […]

เปลี่ยน.. เพื่อ ‘ช็อกโกแลต’ ที่คุณแคร์

blank

ภายในปี 2048 จะไม่มีพื้นที่ใดปลูกต้นโกโก้ได้อีก เรื่องน่าเศร้าของคนรักช็อกโกแลตที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า เพราะนั่นหมายความว่าคุณจะไม่ได้กินช็อกโกแลตอีกต่อไป หรือต่อให้คุณหากินได้ ช็อกโกแลตก็อาจจจะกลายเป็นของหายาก และราคาแพงจนเกินเอื้อม  เพราะโลกร้อน.. จึงปลูกต้นโกโก้ไม่ขึ้น  ตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ ‘ปัญหาภาวะโลกร้อน’ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ช็อกโกแลตนั้นสกัดมาจากต้นโกโก้.. การไม่มีต้นโกโก้ จึงเท่ากับไม่มีช็อกโกแลต และการที่โลกร้อนขึ้นได้ส่งผลต่อความอยู่รอดของต้นโกโก้โดยตรง  เนื่องจากโดยธรรมชาติ ต้นโกโก้จะอาศัยอยู่บริเวณ 20 องศาเหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตรเท่านั้น เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น หรือมีฝนตกชุกมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี อีกทั้งต้นโกโก้ยังต้องการดินที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนมากพอ และยังต้องการร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ถึงจะให้ผลผลิตได้ดี โดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อต้นโกโก้ ไม่ใช่แค่ตัวเลขของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ‘ความชื้นในดินที่ลดลง’ ยิ่งความชื้นน้อยลงเท่าไหร่ ใบของต้นโกโก้ก็จะยิ่งเหี่ยวเร็วมากขึ้นเท่านั้น และผลผลิตก็จะยิ่งลดน้อยตามลงไปด้วย  ผลกระทบที่ลุกลาม และเรื่องที่น่าเศร้ายิ่งกว่าก็เกิดขึ้นจนได้ เมื่อผลกระทบจากการปลูกต้นโกโก้ไม่ขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน ได้เริ่มนำไปสู่การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในที่สุด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกเดิมไม่เหมาะสมอีกต่อไป เห็นได้ชัดจากกรณีของประเทศโกตดิวัวร์ (Côte d’Ivoire) ประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตกที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูกต้นโกโก้ และผลิตผลโกโก้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งนับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ป่าฝนของประเทศโกตดิวัวร์ลดลงกว่าเดิมถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอัตราการสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์และสัตว์ป่าน้อยใหญ่มากมาย ก็กลับหดหายไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงปุ๋ยเคมีและสารกำจัดพืชจากการเกษตรกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ […]

เปลี่ยน.. เพื่อ ‘โลกใต้น้ำ’ ที่คุณแคร์

blank

เปลี่ยน.. เพื่อ ‘โลกใต้น้ำ’ ที่คุณแคร์  ผืนน้ำสีน้ำเงิน ที่เต็มไปด้วยแนวปะการังสีสันสดใสสวยงาม และฝูงปลาน้อยใหญ่มากมาย ที่กำลังแหวกว่ายอยู่เต็มท้องทะเล.. ‘โลกใต้น้ำ’ ที่มีอยู่จริงตามมหาสมุทรทุกมุมโลก อาจกลายเป็นเพียงแค่ ‘โลกในจินตนาการ’ เท่านั้น หรืออย่างมากก็คงถูกย่อส่วนให้เราเห็นตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ อย่างที่เราอาจไม่เคยได้สัมผัสจริงอีกต่อไป   อนาคตอันแสนโหดร้ายนี้ กำลังทำลายความฝันของนักดำน้ำทั่วโลก เพราะความสวยงามที่พวกเขาเคยได้สัมผัสกำลังจะเลือนลางหายไป อันเนื่องมาจากการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ที่มาจาก ‘ปัญหาภาวะโลกร้อน’  หลายคนอาจยังไม่ทราบว่านอกจากป่าไม้แล้ว มหาสมุทรยังเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และความร้อนส่วนเกินจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) อื่น ๆ ที่ส่วนหนึ่งมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล และการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเราเอาไว้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์   แม้การดูดซับก๊าซเรือนกระจกของมหาสมุทรจะช่วยบรรเทาไม่ให้ก๊าซเหล่านี้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ที่อาจเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก จนตามมาด้วยปัญหาภาวะโลกร้อนต่าง ๆ มากมาย ทั้งการประสบกับคลื่นความร้อนที่ยาวนานขึ้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อย หรือแม้แต่น้ำท่วมฉับพลันก็ตามที เชื่อไหมว่าบทบาทของมหาสมุทรในเรื่องนี้ กลับทำให้น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำทะเลจนกลายเป็นกรดคาร์บอนิก (H₂CO₃)และปล่อยไฮโดรเจนไอออน (H+) ที่ทำให้น้ำทะเลมีค่าความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งความเป็นกรดเหล่านี้ได้รบกวนประสาทการดมกลิ่นของสัตว์น้ำ และยังทำให้เปลือกของสัตว์จำพวกหอย-กุ้ง-ปู บางลง ไปจนถึงการกัดกร่อนของดาวทะเล และปะการังเป็นจำนวนมาก   แน่นอนว่าภาวะโลกร้อนได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวทะเลสูงขึ้นไปด้วย โดยงานวิจัยจากสถาบันวิจัยสคริปส์และมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน […]

เปลี่ยน… เพื่อ ‘ครอบครัว’ ที่คุณแคร์

blank

มันเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่เราต้องเจอกับอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น อยากหายใจได้เต็มปอดเหมือนเคยก็ทำไม่ได้ เพราะอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นควัน และบ่อยครั้งที่ต้องเจอกับน้ำท่วมฉับพลันแบบไม่ทันได้ตั้งตัว คงไม่มีใครอยากเห็นคนที่เรารักต้องมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ยิ่งโดยเฉพาะกับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังวางแผนสร้าง ‘ครอบครัว’ แล้วต้องมาทนเห็นลูกน้อยเติบโตขึ้นท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นซ้ำซากไม่รู้จบ ภาวะโลกร้อน… ปัญหาของทุกเจเนอเรชัน ปัญหาที่ว่านี้เป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อน ที่หลายคนต่างพร่ำบ่นกันมากว่าหลายสิบปี ที่เริ่มเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนก็จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ฉบับแรก ในปี 1990 ที่ระบุว่า โลกกำลังร้อนขึ้นและมีโอกาสที่ภาวะโลกร้อนในอนาคตจะเลวร้ายยิ่งขึ้น นับตั้งแต่รายงานฉบับนี้ นี่ก็ล่วงมากว่า 30 ปีแล้ว และดูเหมือนว่าภาวะโลกร้อนจะทวีความรุนแรงไปอีกหลายเจเนอเรชัน แล้วในที่สุดเสียงของคน Gen Z ก็ดังขึ้นจนได้ เมื่อ เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) เด็กสาวชาวสวีเดน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมในวัยเพียง 16 ปี (ปัจจุบันอายุ 18 ปีแล้ว)ได้ออกมากล่าวสุนทรพจน์ช็อกโลกบนเวทีการประชุมแก้ปัญหาโลกร้อนที่โปแลนด์ ในงานประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 (COP24) เมื่อสองปีที่ผ่านมา ถึงความหดหู่ที่คนรุ่นเธอต้องทนแบกรับจากคนรุ่นก่อน “พวกคุณบอกว่าคุณรักลูกหลานของคุณเหนือสิ่งอื่นใด แต่คุณกลับขโมยอนาคตของพวกเขาไปต่อหน้าต่อตา พวกคุณพูดกันแต่ว่าต้องก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความคิดแย่ […]

Climate Emergency 101 เปลี่ยน.. เพื่อโลกที่คุณแคร์

blank

หลายคนเมื่อเจอกับอากาศร้อน อาจแก้ปัญหาด้วยการเปิดแอร์ให้เย็นฉ่ำ อยากอยู่ในอุณหภูมิห้องที่เท่าไหร่ ก็ปรับได้ตามใจ แต่โลกที่ร้อนขึ้น ทำเช่นนั้นเองไม่ได้.. และก็เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยน’ เพื่อช่วยให้โลกใบนี้รอดพ้นจากวิกฤตที่กำลังประสบอยู่ และรวมถึงหายนะอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในไม่ช้า ทำไมถึง ‘Emergency’  เราไม่สามารถปล่อยให้อุณหภูมิของโลกสูงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว ยืนยันได้จากการที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เปลี่ยนจากการใช้คำว่า ‘Global Warming’ หรือ ปรากฏการณ์โลกร้อน มาเป็นคำว่า ‘Climate Change’ และตามมาด้วย ‘Climate Emergency’ ในที่สุด เพราะวิกฤตนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย และอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเพียงไม่กี่องศานี้เอง ที่อาจเปลี่ยนโลกใบนี้ไปตลอดกาล ปัจจุบันรัฐบาลจากหลายประเทศไม่เพียงแค่วางแผนจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน แต่ยังต้องพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกไม่ให้เพิ่มสูงไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จากเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่าแค่เพียง 0.5 องศาเซลเซียสที่เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถเปลี่ยนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลกได้อย่างมหาศาล ซึ่งความจริงทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนแทบทั้งสิ้น ทั้งอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อย น้ำท่วมฉับพลัน หิมะตกผิดฤดู ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ไปจนถึงน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายเร็วขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วถ้าโลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส อย่างที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนกำลังกังวลกันอยู่ เราจะต้องพบเจอกับอะไร? รายงานพิเศษจาก […]