SCG: Climate Emergency

Climate Emergency 101

เปลี่ยน.. เพื่อโลกที่คุณแคร์

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

 5,605 

หลายคนเมื่อเจอกับอากาศร้อน อาจแก้ปัญหาด้วยการเปิดแอร์ให้เย็นฉ่ำ อยากอยู่ในอุณหภูมิห้องที่เท่าไหร่ ก็ปรับได้ตามใจ แต่โลกที่ร้อนขึ้น ทำเช่นนั้นเองไม่ได้.. และก็เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยน’ เพื่อช่วยให้โลกใบนี้รอดพ้นจากวิกฤตที่กำลังประสบอยู่ และรวมถึงหายนะอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในไม่ช้า


ทำไมถึง ‘Emergency’ 

เราไม่สามารถปล่อยให้อุณหภูมิของโลกสูงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว ยืนยันได้จากการที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เปลี่ยนจากการใช้คำว่า ‘Global Warming’ หรือ ปรากฏการณ์โลกร้อน มาเป็นคำว่า ‘Climate Change’ และตามมาด้วย ‘Climate Emergency’ ในที่สุด เพราะวิกฤตนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย และอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเพียงไม่กี่องศานี้เอง ที่อาจเปลี่ยนโลกใบนี้ไปตลอดกาล

ปัจจุบันรัฐบาลจากหลายประเทศไม่เพียงแค่วางแผนจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน แต่ยังต้องพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกไม่ให้เพิ่มสูงไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จากเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่าแค่เพียง 0.5 องศาเซลเซียสที่เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถเปลี่ยนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลกได้อย่างมหาศาล

ซึ่งความจริงทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนแทบทั้งสิ้น ทั้งอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อย น้ำท่วมฉับพลัน หิมะตกผิดฤดู ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ไปจนถึงน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายเร็วขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วถ้าโลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส อย่างที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนกำลังกังวลกันอยู่ เราจะต้องพบเจอกับอะไร?

blank

รายงานพิเศษจาก คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC – Intergovernmental Panel on Climate Change) เผยว่า ถ้าโลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส ประชากรกว่า 420 ล้านคน โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน จะประสบกับคลื่นความร้อนจนไม่สามารถมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ น้ำแข็งในทวีปอาร์กติกก็จะละลายลงหมดภายในระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปี เท่านั้น เชื้อโรคหลายชนิดที่ถูกแช่แข็งอยู่จะเกิดการระบาดออกไปกว่าครึ่งโลก ซึ่งทุกวันนี้แค่เผชิญกับภาวะการระบาดของโควิด19 ก็รับมือลำบากกันอยู่แล้ว

blank

และแม้เราจะพยายามรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียสแล้วก็ตาม ประชากรกว่า 46 ล้านคน ก็ยังคงเสี่ยงกับการประสบอุทกภัยอยู่ดี แต่อย่างน้อยก็ช่วยยืดระยะเวลาที่น้ำแข็งในทวีปอาร์กติกจะละลายลงจาก 10 ปี ออกไปได้ถึง 1 ศตวรรษ นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากการเริ่มลงมือเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ ถ้าทุกคนร่วมมือกัน


แล้วสาเหตุของการเกิดโลกร้อนคืออะไร?

สาเหตุของภาวะโลกร้อน เกิดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ที่มากเกินไป ซึ่งก๊าซเรือนกระจกมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วแผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ถ้าไม่มีก๊าซเรือนกระจกเลย อุณหภูมิโลกในเวลากลางวันจะร้อนจัด ส่วนกลางคืนก็จะหนาวจัด เรียกได้ว่าก๊าซเรือนกระจกช่วยรักษาสมดุลอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกเอาไว้ แต่เมื่อความไม่สมดุลเกิดขึ้น ก๊าซเรือนกระจกมีมากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในที่สุด

ก๊าซเรือนกระจกเองมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ที่เรามักได้ยินคุ้นหูกันบ่อย ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ที่เกิดจากกิจกรรมการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการตัดไม้ทำลายป่า ก๊าซมีเทน (Methane) จากการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ และกลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs – Hydrofluorocarbons) ที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ สเปรย์ เป็นต้น ซึ่งก๊าซเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มาจากกิจกรรมของมนุษย์เราทั้งสิ้น

blank

เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยน’เพื่อโลกใบนี้ของเรา ด้วยการลงมือเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่อาจเคยคุ้นชิน ให้มาเป็นพฤติกรรมที่แคร์โลกใบนี้ขึ้นอีกสักนิด เช่น เมื่อต้องเดินทางไปไหนที่ระยะทางไม่ไกลจนเกินไป ก็ลองเปลี่ยนจากการขับรถยนต์มาเป็นการเดินหรือปั่นจักรยานแทน เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง

จากที่เคยเปิดไฟทิ้งไว้ทั่วบ้าน ก็ลองเปลี่ยนมาเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็น หรือลองเปลี่ยนมาปรับอุณหภูมิแอร์ให้สูงขึ้นอีกนิด จากที่เคยตั้งอุณหภูมิไว้ต่ำจนเกินไป เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือจากที่เคยเปิดน้ำทิ้งไว้ทุกครั้งขณะแปรงฟัน ก็ลองเปลี่ยนมาปิดทันทีที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรน้ำ ไปจนถึงการเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญ ด้วยการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

ดังเช่น SCG ที่มุ่งดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ESG (Environmental, Social and Governance) ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล เพื่อชักชวนให้เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก ผ่านหลักคิด 4 คำจำขึ้นใจ หลักการง่าย ๆ ใกล้ตัว ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกวัน นั่นคือ

  1. ใช้ให้คุ้ม – ใช้ถุงผ้า พกกระบอกน้ำส่วนตัว เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่
  2. แยกให้เป็น – แยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อง่ายต่อการจัดการ
  3. ทิ้งให้ถูก – ทิ้งขยะให้ถูกถัง เพื่อส่งต่อขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
  4. หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ – นำขยะมารีไซเคิลเป็นโปรดักส์ใหม่ เพื่อการใช้ซ้ำ

ถ้าคุณยังคิดไม่ออกว่าจะเริ่มเปลี่ยนจากตรงไหน ให้ลองเริ่มจากสิ่งที่คุณรัก โลกที่คุณแคร์ โลกที่เป็นเหมือนโลกทั้งใบของคุณ เพื่อให้ความหวัง ความฝัน และความสุขที่มีต่อโลกใบนี้ ได้อยู่กับคุณไปอีกนาน

เปลี่ยน.. เพื่อโลกที่คุณแคร์

Most Popular

You might also like