SCG: Climate Emergency

เปลี่ยน.. เพื่อ ‘โลกใต้น้ำ’ ที่คุณแคร์

  • 225
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
    225
    Shares

 3,117 

เปลี่ยน.. เพื่อ ‘โลกใต้น้ำ’ ที่คุณแคร์ 

ผืนน้ำสีน้ำเงิน ที่เต็มไปด้วยแนวปะการังสีสันสดใสสวยงาม และฝูงปลาน้อยใหญ่มากมาย ที่กำลังแหวกว่ายอยู่เต็มท้องทะเล.. ‘โลกใต้น้ำ’ ที่มีอยู่จริงตามมหาสมุทรทุกมุมโลก อาจกลายเป็นเพียงแค่ ‘โลกในจินตนาการ’ เท่านั้น หรืออย่างมากก็คงถูกย่อส่วนให้เราเห็นตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ อย่างที่เราอาจไม่เคยได้สัมผัสจริงอีกต่อไป  

อนาคตอันแสนโหดร้ายนี้ กำลังทำลายความฝันของนักดำน้ำทั่วโลก เพราะความสวยงามที่พวกเขาเคยได้สัมผัสกำลังจะเลือนลางหายไป อันเนื่องมาจากการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ที่มาจาก ‘ปัญหาภาวะโลกร้อน’ 

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่านอกจากป่าไม้แล้ว มหาสมุทรยังเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และความร้อนส่วนเกินจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) อื่น ๆ ที่ส่วนหนึ่งมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล และการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเราเอาไว้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

 

แม้การดูดซับก๊าซเรือนกระจกของมหาสมุทรจะช่วยบรรเทาไม่ให้ก๊าซเหล่านี้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ที่อาจเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก จนตามมาด้วยปัญหาภาวะโลกร้อนต่าง ๆ มากมาย ทั้งการประสบกับคลื่นความร้อนที่ยาวนานขึ้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อย หรือแม้แต่น้ำท่วมฉับพลันก็ตามที เชื่อไหมว่าบทบาทของมหาสมุทรในเรื่องนี้ กลับทำให้น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

blank

เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำทะเลจนกลายเป็นกรดคาร์บอนิก (H₂CO₃)และปล่อยไฮโดรเจนไอออน (H+) ที่ทำให้น้ำทะเลมีค่าความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งความเป็นกรดเหล่านี้ได้รบกวนประสาทการดมกลิ่นของสัตว์น้ำ และยังทำให้เปลือกของสัตว์จำพวกหอย-กุ้ง-ปู บางลง ไปจนถึงการกัดกร่อนของดาวทะเล และปะการังเป็นจำนวนมาก  

แน่นอนว่าภาวะโลกร้อนได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวทะเลสูงขึ้นไปด้วย โดยงานวิจัยจากสถาบันวิจัยสคริปส์และมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Scripps Institute and Princeton Research) ในปี 2018 เผยว่ามหาสมุทรทั่วโลกดูดซับความร้อนส่วนเกินจากปรากฏการณ์เรือนกระจกเอาไว้มากกว่าที่เคยคาดถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่ผ่านมา มหาสมุทรได้ดูดซับพลังงานความร้อนจนทำให้มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 6.5 องศาเซลเซียสต่อหนึ่งทศวรรษ หรือภายในระยะเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น 

อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ส่งผลให้มหาสมุทรปล่อยก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากขึ้น กระแสน้ำเกิดแปรเปลี่ยน ระบบนิเวศใต้ทะเลได้รับผลกระทบจากปริมาณออกซิเจนที่ลดต่ำลง ทำให้ห่วงโซ่อาหารในทะเลแปรปรวน และในที่สุดสัตว์น้ำทั้งหมดก็จะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้

blank

‘ปะการัง’ คือ หนึ่งในบรรดาสัตว์น้ำที่เห็นได้ชัดจากการได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน นั่นก็คือ ‘ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว’ โดยล่าสุดเกิดขึ้นที่เขตเขินติง เกาะกรีนไอแลนด์ และเกาะออคิดในประเทศไต้หวัน ที่ซึ่งได้รับการขนานนามว่า ‘อาณาจักรแห่งปะการัง’ ในเรื่องของความหลากหลายทางสายพันธุ์ ซึ่งภาวะโลกร้อนได้ทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) ที่คอยสร้างสีสันและผลิตอาหารจากการสังเคราะห์แสงให้กับปะการัง ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ปะการังจึงเกิดการฟอกขาว และทยอยล้มตาย ทำให้สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ที่อาศัยปะการังเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นพื้นที่หลบภัยและขยายพันธุ์ ก็อาจต้องสูญพันธุ์ตามไปด้วย ล่าสุดในประเทศไทยก็เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นที่หาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี 

จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าการสูญเสียแนวปะการังในท้องทะเล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมหาศาล SCG จึงได้ร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนา ‘นวัตปะการัง’ ขึ้น เป็นนวัตกรรมปะการังเทียมรูปแบบใหม่ จากเทคโนโลยี 3D Printing

blank

ด้วยวัสดุที่คงทน ไม่ถูกพัดไปกับกระแสน้ำหรือจมลงในผืนทราย อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับโลกใต้น้ำ สามารถกลมกลืนไปกับธรรมชาติได้ยาวนานถึงเกือบ 10 ปี และสามารถช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติได้ในเวลาเพียง 1-2 ปี เท่านั้น 

 

อย่างไรก็ตามเราทุกคนสามารถช่วยลดโลกร้อนเพื่อโลกใต้น้ำได้อีกหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก ด้วยการใช้ซ้ำอย่างคุ้มค่า หรือหันมาคัดแยกขยะและทิ้งให้ถูกถังเพื่อนำไปรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งช่วยลดการฝังกลบ และเพื่อลดปริมาณขยะ ที่อาจเล็ดลอดลงสู่มหาสมุทร จนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในทะเล โดยเฉพาะการปกป้องวาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในมหาสมุทร ที่สามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 33 ตัน ต่อตลอดช่วงชีวิตของวาฬตัวหนึ่งเลยทีเดียว 

 

มาช่วยกัน ‘เปลี่ยน’ เพื่อ ‘โลกใต้น้ำที่คุณแคร์’ 

ให้คุณได้มีความสุขที่จะยังได้จับสน็อกเกิล 

แล้วออกไปดำน้ำกับผองเพื่อนใต้ท้องทะเลไปอีกนาน ๆ  

 

ตามไปดูข้อมูลสนุก ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่! 

วาฬช่วยโลก! วาฬ 1 ตัว ช่วยดูดซับ CO₂ ได้ 33 ตัน!

Most Popular

You might also like