SCG: Climate Emergency

เปลี่ยน... เพื่อ ‘ครอบครัว’ ที่คุณแคร์

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

 2,105 

มันเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่เราต้องเจอกับอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น
อยากหายใจได้เต็มปอดเหมือนเคยก็ทำไม่ได้ เพราะอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นควัน
และบ่อยครั้งที่ต้องเจอกับน้ำท่วมฉับพลันแบบไม่ทันได้ตั้งตัว

คงไม่มีใครอยากเห็นคนที่เรารักต้องมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้
ยิ่งโดยเฉพาะกับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังวางแผนสร้าง ‘ครอบครัว’ แล้วต้องมาทนเห็นลูกน้อยเติบโตขึ้นท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นซ้ำซากไม่รู้จบ

ภาวะโลกร้อน… ปัญหาของทุกเจเนอเรชัน

ปัญหาที่ว่านี้เป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อน ที่หลายคนต่างพร่ำบ่นกันมากว่าหลายสิบปี ที่เริ่มเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนก็จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ฉบับแรก ในปี 1990 ที่ระบุว่า โลกกำลังร้อนขึ้นและมีโอกาสที่ภาวะโลกร้อนในอนาคตจะเลวร้ายยิ่งขึ้น นับตั้งแต่รายงานฉบับนี้ นี่ก็ล่วงมากว่า 30 ปีแล้ว และดูเหมือนว่าภาวะโลกร้อนจะทวีความรุนแรงไปอีกหลายเจเนอเรชัน

blank

แล้วในที่สุดเสียงของคน Gen Z ก็ดังขึ้นจนได้ เมื่อ เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) เด็กสาวชาวสวีเดน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมในวัยเพียง 16 ปี
(ปัจจุบันอายุ 18 ปีแล้ว)ได้ออกมากล่าวสุนทรพจน์ช็อกโลกบนเวทีการประชุมแก้ปัญหาโลกร้อนที่โปแลนด์ ในงานประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 (COP24) เมื่อสองปีที่ผ่านมา ถึงความหดหู่ที่คนรุ่นเธอต้องทนแบกรับจากคนรุ่นก่อน

“พวกคุณบอกว่าคุณรักลูกหลานของคุณเหนือสิ่งอื่นใด
แต่คุณกลับขโมยอนาคตของพวกเขาไปต่อหน้าต่อตา
พวกคุณพูดกันแต่ว่าต้องก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความคิดแย่ ๆ แบบเดิม
ที่ทำให้เราต้องผจญวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ทั้งที่สิ่งที่จะต้องทำที่สุดคือการดึงเบรกฉุกเฉิน”

แล้วทำไมเราถึงไม่ลงมือทำทั้งที่ยังมีโอกาส?

ขึ้นชื่อว่า ‘โอกาส’ คงไม่เกิดขึ้นบ่อย เพราะฉะนั้นอย่ารอช้าที่จะส่งต่อ วัฒนธรรมลดโลกร้อนให้กับลูกหลานของเรา ด้วยการลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยน’ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี โดยอาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินการใช้ของเราในแต่ละวัน ให้หันมาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ (Carbon Footprint)

ถึงตรงนี้แล้วอาจฟังดูยาก แต่ความจริงคำ ๆ นี้เข้าใจได้ไม่ยาก และยังช่วยให้เห็นภาพชัดมากขึ้นด้วยว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง สามารถช่วยลดโลกร้อนได้มากขนาดไหน

blank

คาร์บอนฟุตปริ้นท์คืออะไร?

คาร์บอนฟุตปริ้นท์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide), ก๊าซมีเทน (Methane) และกลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs – Hydrofluorocarbons) เป็นต้น ที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การรับประทานอาหาร หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยมีหน่วยเป็นกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(kgCO2e)เช่น
ก๊าซมีเทนมีค่าศักยภาพทำให้โลกร้อน 28 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าเราปล่อยก๊าซมีเทน 1 กิโลกรัม ก็จะเท่ากับเราปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นท์ออกมา 28 kgCO2e นั่นเอง

blank

ซึ่งการคำนวณรวมปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากก๊าซต่าง ๆ ที่เราปล่อยออกมา ก็จะช่วยให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าทุกกิจกรรมที่เราทำส่งผลให้โลกร้อนขึ้นมากน้อยแค่ไหน

เพื่อให้เห็นภาพชัดมากที่สุด ลองเปรียบเทียบรูปแบบการเดินทางในแต่ละวันของเราดู เช่น ระยะทาง 1 กิโลเมตร ถ้าเราเลือกเดินทางด้วยการขับรถยนต์เพียงคนเดียว เราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 325-425 คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งมากกว่าการเลือกเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส 13-17 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ถ้าเราเลือกเดินทางด้วยการเดินเท้าหรือปั่นจักรยาน เราจะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้มากที่สุด เนื่องจากไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางเลย และยังช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ที่นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรถึง 16 เปอร์เซ็นต์ อีกด้วย

‘เปลี่ยน’ มาใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้การเปลี่ยนพฤติกรรมในการหันมาเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็ถือว่าช่วยลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน เพราะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น เช่น การเลือกใช้สินค้าและบริการ ที่รับรองด้วยฉลาก ‘SCG Green Choice’เนื่องจากถูกคิดค้นขึ้นให้มีความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. สินค้ากลุ่มประหยัดพลังงานและลดโลกร้อน (Climate Resilience)
2. สินค้ากลุ่มประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และยืดอายุการใช้งาน (Circularity)
3. สินค้ากลุ่มส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี (Well Being)

blank

เช่น ปูนโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮบริด
ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต อย่างน้อย 50 กิโลกรัมต่อตันปูนซีเมนต์ ฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทดแทนการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี ที่ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้า ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้สูงถึง 60% ระบบ Active AIRflow™ System นวัตกรรมถ่ายเทอากาศ ที่ช่วยลดอุณหภูมิในโถงหลังคาได้ประมาณอย่างน้อย 10 องศาและอุณหภูมิในพื้นที่ใช้สอยอย่างน้อย 2 องศา รวมถึงช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก และช่วยกรองฝุ่น PM 2.5 ด้วยในตัว

blank

ดังนั้นถ้าคุณรักใครสักคน และเขาเปรียบเสมือนโลกทั้งใบที่คุณแคร์ อย่ารอช้าที่จะลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยน’ และส่งต่อวัฒนธรรมลดโลกร้อนตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่สดใสและยั่งยืนของพวกเขา…และเราทุกคน

Most Popular

You might also like