knowledge-img

เมื่อวิกฤตภัยแล้งยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ! วันนี้เราจะมาแบ่งปันวิธีรับมือภัยแล้งที่ชุมชนร่วมกันทำได้ด้วยตัวเอง ด้วยการจัดสรรพื้นที่ที่จะช่วยให้ชาวชุมชนผ่านปัญหาภัยแล้งไปได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นด้วยการสำรวจทำความรู้จักกับพื้นที่ในชุมชมของตัวเองให้ดี หลังจากนั้นนำแนวคิดจัดสรรที่ดินทั้ง 3 ไปปรับใช้กัน !

1. แบ่งพื้นที่เพาะปลูก สำหรับขุดบ่อสำรองน้ำ
เปลี่ยนจากการเพาะปลูกเต็มพื้นที่ มาเป็นพื้นที่สำหรับขุดบ่อสำรองน้ำ #ซึ่งควรเป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำที่สุดในบริเวณบ้าน เพราะน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ ดังนั้น น้ำที่ผ่านการใช้เพื่ออุปโภค บริโภค หรือเพื่อการเกษตร มีโอกาสที่จะไหลลงไปเติมในบ่อที่เราขุดไว้ (ในขั้นตอนนี้ถึงไม่มีฝนก็ควรจะขุด เพราะมีน้ำไหลในชั้นดิน) และนำกลับมาใช้ได้อีก แถมเป็นการเตรียมพื้นที่เพื่อรอฝน หรือถ้ามีน้ำบาดาลในพื้นที่ก็ใช้เป็นที่พักน้ำได้อีกด้วย

2. ลดพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกผลผลิตอื่น
เพราะการปลูกข้าวใช้น้ำมากกว่าพืช 3-4 เท่า ถ้าหากลดพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกผักหรือพืชในพื้นที่ จะทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกอย่างแน่นอน 

3. ปลูกพืชที่ให้ผลผลิต แบบรายวัน รายเดือน และรายปี
จากเดิมที่ปลูกพืชเพียงชนิดเดียว (พืชเชิงเดี่ยว) เปลี่ยนมาเป็นปลูกพืชที่ให้ผลผลิต และสามารถเก็บได้แบบรายวัน รายเดือน และรายปี เพื่อให้มีผลผลิตไว้รับประทานและรายได้ตลอดปี แถมเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายรับอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีคิดในการจัดการน้ำระดับชุมชนในโครงการ “เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” ที่นำมาปรับใช้เพื่อฝ่าวิกฤตแล้งในอดีตที่ผ่านมา จนสามารถผ่านทุกวิกฤตแล้งได้อย่างยั่งยืน