know-banner
เลิกแล้ง เลิกจน
6 ขั้นตอนรอดวิกฤตอย่างยั่งยืน
สามัคคี พึ่งตนเอง
ชุมชนสามัคคี รวมกลุ่มพึ่งพากัน เพราะคนในชุมชนย่อมรู้ปัญหาในพื้นที่และเข้าใจพื้นที่ได้ดีที่สุด เพียงแค่ลุกขึ้น เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ปัญหา จัดการน้ำด้วยความรู้ เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี แม้ในช่วงหน้าแล้งก็ทำการเกษตรได้ มีรายได้ไม่ต้องอพยพไปหางานทำในเมือง
1
หาน้ำได้ เก็บน้ำไว้ ใช้น้ำเป็น
สร้างฝายชะลอน้ำอย่างถูกวิธีในพื้นที่ป่าต้นน้ำให้มีความชุ่มชื้น เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน
กักเก็บน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของชุมชน โดยสำรวจแหล่งน้ำ และพัฒนาปรับปรุงให้อยู่ในสภาพดี ทำระบบสระพวง แก้มลิง ถังเก็บน้ำ และเชื่อมแหล่งน้ำ กระจายน้ำด้วยระบบท่อลำลาง คลองไส้ไก่ ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ทำระบบน้ำหมุนเวียนด้วยการออกแบบตามความสูงต่ำของพื้นที่ ใช้ระบบโซล่าร์เซลล์สูบน้ำจากแหล่งน้ำด้านล่างกลับขึ้นไปกักเก็บด้านบนเพื่อใช้ในแปลงเกษตรจากบนสู่ล่าง เพื่อให้ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น

ชุมชนบ้านแม่ซา ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ชุมชนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำ สร้างแหล่งน้ำคู่กับการทำสวนเกษตร ออกแบบแปลงเกษตรผสมผสานในพื้นที่อย่างเป็นระบบ กระจายน้ำเข้าแปลงด้วยระบบท่อ และลำลาง ขุดสระเก็บน้ำ พร้อมติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์สูบน้ำกลับขึ้นไปเก็บด้านบนแล้ว กระจายส่งน้ำไปตามแปลงเกษตร ลดหลั่นลงด้านล่าง ทำให้เกิดระบบน้ำหมุนเวียน ใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพพอ
3
เข้าใจตลาด ตรงใจลูกค้า
ปลูกพืชที่เป็นความต้องการของตลาด แปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขายที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรง เช่น
ไร่นาฟ้าเอ็นดู อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี มีผลผลิตที่หลากหลายนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น กระบกเคลือบ เกลือหิมาลัย เมล็ดผักหวาน น้ำพริกย้อนวัย สามารถสร้างเครือข่าย เสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยรอบขายผ่านช่องทางออนไลน์ สร้างรายได้มากกว่าเดิมถึงเกือบ 6 เท่า

ชุมชนกว่า 300 ราย ผ่านการอบรมหลักสูตร “พลังชุมชน” เสริมความรู้คู่คุณธรรม สร้างแรงบันดาลใจ ให้ลุกขึ้นมาพัฒนาพึ่งตนเอง เรียนรู้หลักการตลาด เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และวางแผนชีวิตเพื่อความยั่งยืน เป็นต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นต่อไป
5
เรียนรู้จัดการน้ำ ด้วยเทคโนโลยี
เรียนรู้การจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ เข้าใจสภาพพื้นที่ รู้ความต้องการใช้น้ำของตนเองและชุมชน และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศทำแผนที่น้ำ ผังน้ำ วางแผนบริหารสมดุลน้ำ ดังเช่น ตัวอย่างจาก
ชุมชนภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ชุมชนเรียนรู้การจัดการน้ำจากสถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ การใช้เทคโนโลยี GPS และ GIS ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) ทำแผนที่น้ำชุมชน เพื่อเข้าใจพื้นที่ว่า มีน้ำอยู่เท่าไร ต้องการใช้น้ำเท่าไร จะหาน้ำมากักเก็บอย่างไร แล้วออกแบบการจัดการน้ำให้เกิดความสมดุล
2
ทำเกษตรผสมผสาน บริหารความเสี่ยง
ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสานตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยปลูกพืชเพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อขายสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ใช้เทคโนโลยีวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ เช่น ปลูกพืชใช้น้ำน้อยในพื้นที่แล้ง เช่น
ชุมชนบ้านสาแพะเหนือ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง จากเดิมปลูกข้าวอย่างเดียว ปีละ 1 ครั้ง ไม่มีแหล่งทดแทนรายได้อื่น ปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน เพิ่มพืชกินได้ แบ่งพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น มะเขือ พริก แตงกวา บวบ ถั่วฝักยาว แตงกวาญี่ปุ่น และ ไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย เป็นต้น ช่วยลดรายจ่ายครัวเรือน และมีผลผลิตสร้างรายได้ตลอดปี

ชุมชนบ้านสาแพะเหนือ ปลูกถั่วพุ่มส่งออกต่างประเทศให้ผล 3 รุ่น/รอบ ชุมชนมีรายได้ 3 เดือน 11 ล้านบาท
4
เศรษฐกิจเพิ่มคุณค่า ชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ชุมชนต้องรวมกลุ่มกัน วางแผนจัดการผลผลิตเกษตร ขายหรือแปรเพิ่มมูลค่า เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง หรือขายตรงให้ผู้ซื้อ พร้อมจัดการเงินและสวัสดิการชุมชน อาทิ กองทุนคนเจ็บป่วย คนชรา คนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อให้คนในชุมชนมีความมั่นคงทั้งการเงิน และสวัสดิภาพของคนในครอบครัว พึ่งพาตนเองได้ เช่น
ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนแก้ปัญหาน้ำแล้งตามแนวพระราชดำริ จนมีน้ำใช้ตลอดปี ทำเกษตรผสมผสาน จนเป็นแหล่งปลูกไม้ดอก ไม้ประดับใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ชุมชนต้องการแก้ปัญหาเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ จึงรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ให้ชาวบ้านมีแหล่งเงินทุนที่บริหารจัดการโดยชุมชนเอง จัดสรรกองทุนสวัสดิการชุมชนมากกว่า 12 กองทุน ดูแลสวัสดิภาพชุมชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีสมาชิก 9,541 คน มีเงินทุนสะสม ทั้งหมด 480 ล้านบาท
6
สามัคคี พึ่งตนเอง
ชุมชนสามัคคี รวมกลุ่มพึ่งพากัน เพราะคนในชุมชนย่อมรู้ปัญหา ในพื้นที่และเข้าใจพื้นที่ได้ดีที่สุด เพียงแค่ลุกขึ้น เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ปัญหา จัดการน้ำด้วยความรู้ เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี แม้ในช่วงหน้าแล้งก็ทำการเกษตรได้ มีรายได้ไม่ต้องอพยพไปหางานทำใน เมือง
1
เรียนรู้จัดการน้ำ ด้วยเทคโนโลยี
เรียนรู้การจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ เข้าใจสภาพพื้นที่ รู้ความต้องการใช้น้ำของตนเองและชุมชน และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศทำ แผนที่น้ำ ผังน้ำ วางแผนบริหารสมดุลน้ำ ดังเช่น ตัวอย่างจาก
ชุมชนภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ชุมชนเรียนรู้การจัดการน้ำจากสถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ การใช้เทคโนโลยี GPS และ GIS ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) ทำแผนที่น้ำชุมชน เพื่อเข้าใจพื้นที่ ว่า มีน้ำอยู่เท่าไร ต้องการใช้น้ำเท่าไร จะหาน้ำมากักเก็บอย่างไร แล้วออกแบบการจัดการน้ำให้เกิดความสมดุล
2
หาน้ำได้ เก็บน้ำไว้ ใช้น้ำเป็น
สร้างฝายชะลอน้ำอย่างถูกวิธีในพื้นที่ป่าต้นน้ำให้มีความชุ่มชื้น เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน
กักเก็บน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของชุมชน โดยสำรวจ แหล่งน้ำ และพัฒนาปรับปรุงให้อยู่ในสภาพดี ทำระบบสระพวง แก้มลิง ถังเก็บน้ำ และเชื่อมแหล่งน้ำ กระจายน้ำด้วยระบบท่อลำลาง คลองไส้ไก่ ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ทำระบบน้ำหมุนเวียนด้วยการออกแบบตามความสูงต่ำของพื้นที่ ใช้ระบบโซล่าร์เซลล์สูบน้ำจากแหล่งน้ำด้านล่างกลับขึ้นไปกักเก็บด้านบนเพื่อใช้ในแปลงเกษตรจากบนสู่ล่าง เพื่อให้ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น

ชุมชนบ้านแม่ซา ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ชุมชนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำ สร้างแหล่งน้ำคู่กับการทำสวนเกษตร ออกแบบแปลงเกษตรผสมผสานในพื้นที่อย่างเป็นระบบ กระจายน้ำเข้าแปลงด้วยระบบท่อ และลำลาง ขุดสระเก็บน้ำ พร้อมติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์สูบน้ำกลับขึ้นไปเก็บด้านบนแล้ว กระจายส่งน้ำไปตามแปลงเกษตร ลดหลั่นลงด้านล่าง ทำให้เกิดระบบน้ำหมุนเวียน ใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพพอ
3
ทำเกษตรผสมผสาน บริหารความเสี่ยง
ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสานตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยปลูกพืชเพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อขายสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ใช้เทคโนโลยีวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ เช่น ปลูกพืชใช้น้ำน้อยในพื้นที่แล้ง เช่น
ชุมชนบ้านสาแพะเหนือ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง จากเดิมปลูกข้าวอย่างเดียว ปีละ 1 ครั้ง ไม่มีแหล่งทดแทนรายได้อื่น ปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน เพิ่มพืชกินได้ แบ่งพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น มะเขือ พริก แตงกวา บวบ ถั่วฝักยาว แตงกวาญี่ปุ่น และ ไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย เป็นต้น ช่วยลดรายจ่ายครัวเรือน และมีผลผลิตสร้างรายได้ตลอดปี

ชุมชนบ้านสาแพะเหนือ ปลูกถั่วพุ่มส่งออกต่างประเทศให้ผล 3 รุ่น/รอบ ชุมชนมีรายได้ 3 เดือน 11 ล้านบาท
4
เข้าใจตลาด ตรงใจลูกค้า
ปลูกพืชที่เป็นความต้องการของตลาด แปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขายที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรง เช่น
ไร่นาฟ้าเอ็นดู อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี มีผลผลิตที่หลากหลายนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น กระบกเคลือบ เกลือหิมาลัย เมล็ดผักหวาน น้ำพริกย้อนวัย สามารถสร้างเครือข่าย เสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยรอบขายผ่านช่องทางออนไลน์ สร้างรายได้มากกว่าเดิมถึงเกือบ 6 เท่า

ชุมชนกว่า 300 ราย ผ่านการอบรมหลักสูตร “พลังชุมชน” เสริมความรู้คู่คุณธรรม สร้างแรงบันดาลใจ ให้ลุกขึ้นมาพัฒนาพึ่งตนเอง เรียนรู้หลักการตลาด เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และวางแผนชีวิตเพื่อความยั่งยืน เป็นต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นต่อไป
5
เศรษฐกิจเพิ่มคุณค่า ชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ชุมชนต้องรวมกลุ่มกัน วางแผนจัดการผลผลิตเกษตร ขายหรือแปรเพิ่มมูลค่า เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง หรือขายตรงให้ผู้ซื้อ พร้อมจัดการเงินและสวัสดิการชุมชน อาทิ กองทุนคนเจ็บป่วย คนชรา คนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อให้คนในชุมชนมีความมั่นคงทั้งการเงิน และสวัสดิภาพของคนในครอบครัว พึ่งพาตนเองได้ เช่น
ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนแก้ปัญหาน้ำแล้งตามแนวพระราชดำริ จนมีน้ำใช้ตลอดปี ทำเกษตรผสมผสาน จนเป็นแหล่งปลูกไม้ดอก ไม้ประดับใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ชุมชนต้องการแก้ปัญหาเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ จึงรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ให้ชาวบ้านมีแหล่งเงินทุนที่บริหารจัดการโดยชุมชนเอง จัดสรรกองทุนสวัสดิการชุมชนมากกว่า 12 กองทุน ดูแลสวัสดิภาพชุมชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีสมาชิก 9,541 คน มีเงินทุนสะสม ทั้งหมด 480 ล้านบาท
6