knowledge-img

“#ใช้น้ำซ้ำ” จัดการน้ำหมุนเวียน สู้ภัยแล้ง
เพราะน้ำที่เราใช้ไปแล้วไม่ว่าจะเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรที่ไหลลงดินไปแล้วจะวนกลับมาใช้ใหม่ได้ น้ำจึงถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้เช่นกัน

น้ำที่ใช้แล้วจะไหลลงดินซึมผ่านชั้นดินลงไปยังพื้นที่ต่ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำใกล้ ๆ ดังนั้น ถ้ามีน้ำที่ปนเปื้อนจำนวนมากไหลลงไปแล้วมีสิทธิ์ที่จะทำให้แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้เป็นน้ำเสีย ไม่สามารถใช้น้ำซ้ำได้ และอาจจะส่งผลต่อชุมชนใกล้เคียงที่อยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าแล้วต้องใช้น้ำจากแหล่งเดียวกัน

ชุมชน ที่พบกับภัยแล้ง น้ำเสีย ควรให้ความสำคัญกับการ “#ใช้น้ำซ้ำ” ป้องกันให้ไม่เกิดน้ำเสียในพื้นที่ ด้วยการเติมออกซิเจนกรองสารปนเปื้อนออก

การใช้หญ้าแฝก (ใช้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติ)
ด้วยคุณสมบัติในการบำบัดน้ำที่ไหลผ่านในชั้นดิน จัดการพื้นที่เกษตรบนผิวดินด้วย และยังแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้ เราจะพาไปดูว่าหญ้าแฝกทำงานยังไง

ประโยชน์ใต้พื้นดิน
รากของหญ้าแฝกมีความยาวมากและสานกันแน่น เจริญเติบโตในแนวดิ่ง ไม่ออกด้านข้าง จึงไม่ไปแย่งอาหารพืชข้างเคียง นอกจากช่วยดูดซับและกักน้ำใต้ดิน ยังช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และทำหน้าที่ดูดซับสารเคมีปนเปื้อนในน้ำ ก่อนที่น้ำจะไหลลงสู่แหล่งน้ำอีกด้วย

ประโยชน์เหนือพื้นดิน
เป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนทาน แตกอย่างรวดเร็วเป็นกอแน่น ขึ้นได้ทั้งดินดีและเลว การปลูกหญ้าแฝก จึงมีประโยชน์ในการเป็นพืชคลุมดิน ลดแรงกระแทกของน้ำฝนที่ตกกระทบหน้าดิน และชะลอการไหลบ่าของน้ำลงพื้นที่เกษตร แถมยังสามารถกรองตะกอนก่อนที่จะไหลลงสู่แหล่งน้ำได้ส่วนหนึ่ง

ประโยชน์นอกพื้นดิน
นอกจากหน้าที่ในการจัดการน้ำ ตัวหญ้าแฝกเองก็สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือใช้งานในรูปแบบอื่น เป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทาง โดยสามารถนำไปทำเป็นวัสดุมุงหลังคา อาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก รองคอกสัตว์ เพาะเห็ด ทำกระดาษ ทำเชือก หมวก ตะกร้า เสื้อ

สนใจวิธีบริหารจัดการน้ำติดต่อ
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
021580901 ต่อ 7012 และ 7016 (ในช่วงเวลาราชการ)