SCG Floating Solar Solutions โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน

การเลือกใช้พลังงานสะอาดหมายถึงการใช้พลังงานที่ไม่สร้างมลพิษในกระบวนการผลิตนั้น นอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอีกวิธีในการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยโซลาร์เซลล์เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งในประเทศไทยมีการใช้โซลาร์เซลล์ทั้งแบบติดตั้งบนพื้นดิน ติดตั้งบนหลังคา และติดตั้งบนผิวน้ำ ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยติดตั้งที่บ่อเก็บน้ำภายในโรงงานของเอสซีจีในปี 2561 เป็นที่แรก​

คุณพิสันติ์ เอื้อวิทยา Emerging Businesses Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจรว่า “เอสซีจีเล็งเห็นว่า พลังงานทดแทน หรือ Renewable Energy ส่งผลดีหลายประการ ทั้งเป็นการผลิตพลังงานใช้เอง พร้อมกับช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ประกอบกับเห็นโอกาสของพื้นที่ผิวน้ำว่างเปล่าซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ เอสซีจีจึงนำความเชี่ยวชาญทั้งด้าน วัสดุพลาสติก และการออกแบบมาพัฒนาร่วมกับคู่ธุรกิจจนเกิดเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจร ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบเฉพาะของเอสซีจีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว”​

คุณสมบัติพิเศษของทุ่นลอยน้ำจากการใช้วัสดุและการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์​

หลักการทำงานของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ คือ การติดตั้งทุ่นพลาสติกบนพื้นที่ผิวน้ำเพื่อเป็นฐานให้กับแผงโซลาร์เซลล์ จึงต้องการทุ่นที่มีความคงทนแข็งแรง มีแรงลอยตัวดี และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดสามารถตอบโจทย์ได้ด้วย การใส่ใจลงรายละเอียดการออกแบบตัวทุ่นลอยน้ำ และการเลือกใช้เม็ดพลาสติกที่ปรับปรุงสูตรให้เหมาะสม ซึ่งทางเอสซีจีได้พัฒนาสูตรเม็ดพลาสติก HDPE ที่ให้ความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งภายใต้รังสีอัลตร้าไวโอเล็ตจากแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ อีกทั้งมีคุณลักษณะเป็น Food Grade ปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ​

ระบบทุ่นลอยน้ำของเอสซีจีออกแบบให้มีพื้นที่เปิดระหว่างทุ่นมากกว่า 30% สิ่งมีชีวิตใต้น้ำจึงสามารถรับแสงธรรมชาติได้อย่างเพียงพอ และตัวทุ่นลอยน้ำเองก็ทำหน้าที่เหมือนร่มกำบังช่วยลดการระเหยของน้ำ ส่วนความเย็นของน้ำจะทำให้เกิด Cooling Effect ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิตไฟฟ้าของระบบโซลาร์แบบลอยน้ำได้​

สำหรับตัวทุ่นลอยน้ำจะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรก คือ Solar Stand สำหรับยึดกับแผงโซลาร์เซลล์ ได้รับการออกแบบให้สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้หลากหลายประเภท สามารถรองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาขนาดแผ่นใหญ่ขึ้นได้ และสามารถปรับมุมองศาได้ตามพื้นที่เพื่อประสิทธิภาพการรับแสงแดดสูงสุด ส่วนที่สอง คือ ทุ่นทางเดิน ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยสำหรับวิศวกรหรือผู้ใช้งานที่ต้องเดินปฏิบัติงาน ตรวจสอบ หรือทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ จึงออกแบบทุ่นทางเดินให้มีแรงลอยตัวเหนือผิวน้ำมากกว่าทุ่นในท้องตลาดทั่วไป ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ผู้ปฏิบัติงานสามารถยืนและเดินได้อย่างมั่นคง ที่สำคัญคือ ช่วยป้องกันปัญหาทุ่นจมน้ำและไม่มั่นคงในเวลาเดินหรือปฏิบัติงาน ซึ่งวิศวกรหรือผู้ใช้งานอาจเกิดอันตรายได้​

นอกจากนี้ทีมงานยังพัฒนาระบบยึดตัวทุ่นแบบพิเศษที่แข็งแรง ทนทานต่อแรงดึงสูง และคำนวณการออกแบบยึดโยงทุ่นลอยน้ำทั้งหมด (Mooring and Anchoring) ให้เข้ากับพื้นที่แหล่งน้ำแต่ละแห่ง ซึ่งมีทั้งแบบสมอ และแบบยึดโยงกับชายฝั่ง เพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน รวมถึงคลื่นลมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด​

จุดเด่นสำคัญอีกประการของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำรุ่นล่าสุดของเอสซีจี นอกจากออกแบบให้ประกอบง่าย เพื่อประหยัดเวลาติดตั้งแล้ว ยังสามารถเลือกประกอบได้หลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน ตั้งแต่แบบแผงโซลาร์ 1 แถวต่อ 1 ทางเดิน (one in a row), แบบแผงโซลาร์ 2 แถวต่อ 1 ทางเดิน (two in a row), และแบบแผงโซลาร์ 4 แถวต่อ 1 ทางเดิน (four in a row) ซึ่งรูปแบบของการติดตั้งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งหากใช้แบบจำนวนแถวแผงโซลาร์มากก็จะช่วยประหยัดพื้นที่ติดตั้ง​

โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ความยั่งยืนเพื่อธุรกิจและสิ่งแวดล้อม​

คุณพิสันติ์ได้แนะนำถึงการเลือกใช้โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำเป็นแหล่งพลังงานว่า “สำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบ่อเก็บน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ หรือเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า พื้นที่ว่างของท่านสามารถสร้างมูลค่าด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ สำหรับนำกลับมาใช้งานภายในโรงงานหรือองค์กร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและเป็นการช่วยกันสนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย”​

บริการที่ครบวงจรของ SCG Floating Solar Solutions เริ่มต้นตั้งแต่การให้คำปรึกษาเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการ การออกแบบรูปแบบโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำที่เหมาะสมกับแหล่งน้ำที่มีอยู่ การออกแบบเชิงวิศวกรรม การจัดหาสินค้าและติดตั้งแบบครบวงจร การยึดโยงอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัยสูง รวมถึงการบริหารจัดการช่วงดำเนินงานและการบำรุงรักษา พร้อมรับประกันสินค้าสูงสุด 25 ปีตลอดอายุโครงการ โดยระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 5-8 ปีขึ้นอยู่กับขนาดของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำและปริมาณการใช้ไฟฟ้า​

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ solarenergy@scg.com

โครงการ STL สระบุรี กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์

SCG Floating Solar Solutions ติดตั้งและให้บริการคิดเป็นกำลังผลิตรวม 14.6 เมกะวัตต์ ณ เดือนมีนาคม 2563

 

2561

  • ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ระยอง
  • ฐานทัพเรือสัตหีบ ชลบุรี
  • SERIS ประเทศสิงคโปร์
  • เอสซีจี สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ
  • วัดศรีแสงธรรม อุบลราชธานี

2562

  • โครงการ TCP2 ปราจีนบุรี
  • โครงการ SSI สระบุรี
  • โครงการ SENA อยุธยา
  • เหมืองแม่ทาน ลำปาง

2563

  • โครงการ STS นครศรีธรรมราช
  • โครงการ STL สระบุรี
  • โครงการ มุกดาหาร
  • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
ขอบคุณบทความจาก : http://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/3069

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่ ?

Average rating 4.7 / 5. Vote count: 17

No votes so far! Be the first to rate this post.