Collaboration หัวใจของการพัฒนา Solutions

ความท้าทายของการคิดค้นโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผลลัพธ์เท่านั้น อีกสิ่งที่ต้องให้ความสนใจก็คือ จะทำอย่างไรเพื่อทำให้โซลูชันที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพในทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

Collaboration หรือ การทำงานร่วมกันระหว่างแต่ละภาคส่วน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้มนการคิดค้นโซลูชั่น เพราะ Collaboration จะเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด และสร้างโซลูชั่นที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งทำให้สามารถสร้างโซลูชั่นที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งระบบ

ในยุคดิจิทัล การทำงานหรือพัฒนาระบบส่วนใหญ่ มักจะทำเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานที่ต้องทำงานร่วมกันหลายคน หลายหน่วยงาน ดังนั้นกระบวนการ Collaboration ก็จะเกิดขึ้น ระหว่างผู้ใช้งานหน้างาน หัวหน้า รวมถึงทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติคุณเพลินพิณทิพย์ คุฒิวณากานต์ Co-Founder and Marketing Manager, Angel กล่าว

คุณแมววันดี กมลพนัส Manager – New Business Development, Packaging Business, SCG เล่าว่า การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานมีความสำคัญมากในการพัฒนาโซลูชันในปัจจุบัน ในอดีต เวลาขอนำเสนอเป็นโปรเจ็กต์ หัวหน้างานจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าโซลูชั่นควรเป็นแบบไหน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อนำไปใช้งานจริง ผู้ใช้งานอาจติดปัญหาการใช้งาน บางโซลูชันอาจทำงานไม่ได้จริง

วิธีการทำงานที่เราใช้ในปัจจุบัน  คือการลงหน้างานเพื่อเข้าไปหาปัญหา (Pain point) ของผู้ใช้งาน ให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการหาโซลูชั่นและพัฒนาระบบด้วยกัน เราทำงานสั้น เน้นการทดสอบและเรียนรู้ (Test and Learn) แบ่งการทำงานเป็นส่วนย่อย (Section) มีเป้าหมายระยะสั้นเป็นขั้น ไป พอทำต้นแบบ (Prototype) ของแต่ละส่วนเสร็จ ก็จะนำไปทดสอบก่อน เมื่อเห็นว่าตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้จริง จึงนำมาพัฒนาเป็นระบบใหญ่ต่อไป

 

  

ความได้เปรียบและความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน

คุณพันธีระพันธุ์ รัศมีเกียรติศักดิ์ CEO, Angel เล่าว่า Collaboration เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการทำงานเป็นอย่างมาก เพราะแต่ละหน่วยงานสามารถใช้ความรู้ จุดแข็งของตนมารวมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้  แต่ในอีกด้านหนึ่ง การทำงานร่วมกันมีความท้าทาย คือ การทำให้ผู้ร่วมงานมองเห็นและทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

วิธีการคือ ให้ดูวัตถุประสงค์ของบริษัท เป้าหมายของงาน และประโยชน์ที่แต่ละหน่วยงานจะได้รับ พอทุกคนเข้าใจก็จะมุ่งไปสู่ผลสำเร็จส่วนรวม เกิดความร่วมมือ ทำให้งานประสบความสำเร็จ ทั้งในแง่การใช้งาน และการพัฒนาเทคโนโลยี

คุณพันเล่าอีกว่า การ Collaboration มีสำคัญเท่าเทียมกันในทำงานทุกระดับ การคิดโซลูชั่นขึ้นมาด้วยการทำงานร่วมกับผู้ใช้หน้างาน เหมือนเป็นการดึงคนเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วม ทำผู้ใช้งานเปิดรับโซลูชั่นนั้นมากขึ้น เพราะเกิดจากความต้องการของเขาเอง

การเข้าถึงหน้างานแล้วถามว่าปัจจุบันเขาทำงานอย่างไร จากประสบการณ์หลายปีของเขา เขาอยากเปลี่ยน อยากเห็นอะไรทำให้เราได้เข้าไปเห็นโลกของการใช้งานจริง เราเข้าไปเป็นเพื่อนเขา นั่งอยู่ในจุดเดียวกับเขา มีปัญหาเดียวกับเขา เมื่อการทำงานเน้นความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน แต่ละคนจึงกล้าเสนอแนะ และยอมรับผลลัพธ์ ว่าผมคิดมาแบบนี้เอง มันไม่เวิร์ค ขอเปลี่ยน การขึ้นระบบเลยไหลลื่น พอแชร์กันก็จะเกิดการถกเถียงในเชิงสร้างสรรค์ นำมาซึ่งโซลูชั่นที่ดียิ่งขึ้นไป

 

นอกจากนี้ คุณพันบอกอีกว่า โซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นจากการทำงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้ใช้งานเห็นว่าสิ่งที่คิดขึ้นมาทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น

พอเขาเห็นแบบนั้น เขาก็จะยอมเปลี่ยน ในหนึ่งหน่วยงาน สมมุติมี คน 100 คน จะแบ่งได้สามกลุ่ม กลุ่มแรกคือยอมเปลี่ยนเลย อีกกลุ่มดูว่าเดี๋ยวถ้าดีแล้วจะเปลี่ยนตาม สุดท้าย คือ กลุ่มที่ไม่ไปแน่

สิ่งสำคัญคือ เราต้องหาคนจำพวกแรกให้เจอ เพราะเมื่อเจอแล้วทุกคนจะได้ประโยชน์ เริ่มมีโมเมนตัมของการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนอื่นเริ่มเปลี่ยนตาม ส่วนกลุ่มที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เมื่อเราสร้าง Quick Win ให้เขาเห็นตัวอย่างความสำเร็จ เขาจะเปลี่ยนตาม 

 

Key learning point: 

การนำนวัตกรรมไปใช้โดยไร้แรงต้าน
การสื่อสารและคนเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสำคัญที่จะสร้างความร่วมมือ

การสื่อสารและคนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราสื่อสารถึงและคนทำงานเข้าใจ
ก็จะเป็นแรงผลักดันให้โปรเจ็กต์เกิดขึ้นได้เร็ว เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้
สิ่งที่เรียนรู้จากการนำไปใช้งานหลายที่ คือ ทำให้ดี ทำให้ครบ ทำให้เข้าใจ
คุณพันกล่าวสรุป

 

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่ ?

Average rating 4.5 / 5. Vote count: 2

No votes so far! Be the first to rate this post.