จากป่าโกงกาง.. สู่หญ้าทะเล ปลูกอย่างไรให้ลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

‘ป่าโกงกาง’ และ ‘หญ้าทะเล’ เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ถึงความพิเศษของพืชทะเลทั้งสองชนิดนี้สักเท่าไหร่ อาจเพราะวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใกล้ชิดทะเลเท่าชาวประมงหรือคนท้องถิ่น ที่จะรับรู้ได้ถึงความต่างระหว่าง ‘การมีอยู่’ กับ ‘การสูญสลาย’ ไปของพวกมัน ทั้งที่ล้วนส่งผลกระทบต่อเราทุกคนและสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ทั้งสิ้น นั่นก็คือการนำไปสู่ ‘ปัญหาภาวะโลกร้อน’     บทเรียนจาก ‘ชุมชนบ้านมดตะนอย’  ชุมชนบ้านมดตะนอย อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ดี ด้วยอาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านที่ทำประมงเป็นหลัก ซึ่งต้องเลี้ยงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำอย่าง กุ้ง หอย ปู ปลา พวกเขาพบว่าสัตว์น้ำมีจำนวนลดลงอย่างมาก หลังจากหลายสิบปีก่อนที่พื้นที่บริเวณนี้ได้สัมปทานนำไม้โกงกางมาเผาเป็นถ่าน เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ   สัตว์น้ำลดลง ลมร้อนรุนแรง เมื่อ ‘ป่าโกงกาง’ หรือ ‘ป่าชายเลน’ ถูกทำลายมากขึ้น สัตว์น้ำก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากป่าโกงกางเป็นทั้งพื้นที่หลบภัยและวางไข่ของบรรดาสัตว์น้ำน้อยใหญ่มากมาย อีกทั้งชาวบ้านยังพบการกัดเซาะของน้ำและลมร้อนที่ปะทะรุนแรงขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2537 ชุมชนจึงได้ทำความตกลงยกเลิกการประกอบอาชีพทำถ่าน แล้วเปลี่ยนมาปลูกไม้โกงกางทดแทน จนทำให้ป่าโกงกางรอบชุมชนบ้านมดตะนอยมีเพิ่มประมาณ 3,000 ไร่ พร้อมตั้งกติกาชุมชน ให้นำไม้โกงกางไปใช้ในครัวเรือนได้ แต่ไม่สามารถนำไปจำหน่าย โดยจัดสรรเป็นพื้นที่อนุรักษ์อยู่ที่ประมาณ 200 […]