หน้าหลัก > ธุรกิจเอสซีจี

ธุรกิจเอสซีจี

       

SCGP ธุรกิจแพคเกจจิ้ง

 

SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) เติบโตอย่างมีเสถียรภาพด้วยการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Merger & Partnership) และการขยายกำลังการผลิต (Organic Expansion) ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวลงจากภาวะ การแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ SCGP มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้าน โซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรสำหรับลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชัน มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติการ (Operational Excellence) และการบริหารจัดการต้นทุน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ยิ่งไปกว่านั้น SCGP ดำเนินธุรกิจที่ยั่่งยืน ตามกรอบแนวคิด ESG โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593

ผลการดำเนินงาน ปี 2564

ความท้าทายของธุรกิจ

มาตรการล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่่อการฟื้นตัว ของการอุปโภคบริโภคในภูมิภาค ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ความต้องการบรรจุุภัณฑ์ ในกลุ่มที่มีความจำเป็น ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมอุปโภคและบริโภค อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ธุรกิจบริการด้านอาหาร และธุรกิจอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโตได้ดี ในขณะที่ความต้องการใช้กระดาษพิมพ์เขียน ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ผลการดำเนินงานของธุรกิจ

ในปี 2564 SCGP มีรายได้จากการขาย รวม 124,223 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนจาก การขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบผ่าน ความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Merger & Partnership) และการขยายกำลังการผลิต (Organic Growth) ประกอบกับความต้องการ ในอุตสาหกรรมอุปโภคและบริโภค อุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจบริการด้านอาหาร และธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ยังคงเติบโตได้ดี ยิ่งไปกว่านั้นการที่ SCGP มีฐานการผลิตในหลายประเทศ และผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้า ในหลายอุตสาหกรรม ทำให้สามารถกระจายความเสียงที่อาจเกิดขึ้น จากความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกได้ดี ทั้งนี้การบริหารจัดการ ต้นทุนเชิงรุกในภาวะที่ต้องเผชิญกับ ต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง รวมถึง การพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ทำให้ SCGP มี EBITDA เท่ากับ 21,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากปีก่อนและมีกำไร สำหรับปี 2564 เท่ากับ 8,294 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีก่อน

การปรับตัวขององค์กรเพื่อตอบรับกับสถานการณ์ในปี 2564

ด้านธุรกิจ

  • เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ใน Go-Pak ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารใน สหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดย Go-Pak มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ สหราชอาณาจักร มีฐานการผลิตอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
  • เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70 ใน Duy Tan ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูป (Rigid Packaging) ชั้นนำในประเทศเวียดนาม มีลูกค้าเป็นบรรษัทข้ามชาติ และเจ้าของแบรนด์ สินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศ ที่มีอัตราการเติบโตสูงเป็นส่วนใหญ่
  • เข้าถือหุ้นเพิ่มเติมในสัดส่วนร้อยละ 20 ใน Visy Packaging Thailand ส่งผลให้ SCGP มีสัดส่วนการถือหุ้นใน Visy Packaging Thailand เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 100 และขยายกำลังการผลิต บรรจุภัณฑ์แบบกดขึ้นรูปด้วยความร้อน (Thermoform) สายการผลิตที่ 7 พร้อมด้วยคลังสินค้าใหม่ ส่งผลให้กำลังการผลิตรวมของ Visy Packaging Thailand เพิ่มขึ้น 347 ล้านชิ้้น หรือประมาณร้อยละ 15-20 ขึ้นอยู่กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทในช่วงเวลานั้น
  • เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 ใน Intan Group ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีกลุ่มลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทั้งเป็นบรรษัทข้ามชาติ และเจ้าของกิจการภายในประเทศอินโดนีเซีย
  • เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 85 ใน Deltalab ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จดทะเบียนในประเทศสเปน โดยการลงทุนครั้ง สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ ในการดูแลรักษาสุขภาพและแนวโน้ม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  • ลงทุนขยายกำลังการผลิตของบรรจุภัณฑ์อาหารจากกระดาษเพิ่มขึ้น 1,615 ล้านตันต่อปีที่ โรงงานจังหวัดราชบุรี และที่โรงงาน Binh Duong ประเทศเวียดนาม และยังขยายกำลังการผลิต บรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อธรรมชาติเพิ่มขึ้น 223 ล้านชิ้นต่อปี ที่โรงงานจังหวัดกาญจนบุรี โดยคาดว่าจะเริ่่มดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 2 ของปี 2565 เพื่อเพิมศักยภาพด้านการผลิต รองรับการขยายตลาด และความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ
  • ลงทุนสร้างฐานการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ใหม่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม โดยบริษัท VKPC ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอน การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment) โดยคาดว่าจะ พร้อมดำเนินการผลิตได้ในช่วงต้นปี 2567

ด้านคน

  • สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องตาม SCGP Learning Framework ทั้งในส่วนของความรู้ ความสามารถตามหน้าที่ (Functional Competency) และความรู้ ความสามารถด้านการเป็นผู้นำ (Leadership Competency) ผ่านรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย และกระบวนการเรียนรู้ 70 20 10 สามารถพัฒนาตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาผ่าน Learning Platform สอดคล้องกับ People Capability และ Organization Capability
  • สามารถออกแบบเส้นทางอาชีพของตนเองได้ ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถ (Competency) ของตนเอง เทียบกับตำแหน่งงานในองค์กร ทำให้พนักงานสามารถมอง เห็นความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ (Career Path) ของตนเอง และยังเป็นกลไกกระตุ้น ให้พนักงานตระหนักถึง การเรียนรู้การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้น
  • ประเมินพนักงานกลุ่มศักยภาพ (Talent) เป็นประจำทุกปี พิจารณาเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของบริษัท รวมถึงทัศนคติ และพฤติกรรมที่สามารถ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และการยึดถือลูกค้าเป็น ศูนย์กลาง (Customer Centricity) อีกทั้งยังจัดโปรแกรม การเรียนรู้ที่เสริมศักยภาพและ Workshop ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ การมีระบบพี่เลี้้ยงให้คำปรึกษา (Mentoring System) การมอบหมายโครงการ (Project Assignment) การประเมินศักยภาพพนักงาน และการทำแผนสืบทอดธุรกิจ (Succession Plan) ในอนาคต

ด้านนวัตกรรม

  • พัฒนา เฟสท์ เดลี่ (Fest® Daily) บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย ผลิตจากกระดาษสีน้ำตาล ซึ่งเป็นเยื่อใหม่ร้อยละ 100 สัมผัสอาหารได้โดยตรง บรรจุอาหารร้อนได้ถึง 100 องศา เซลเซียส ทนน้ำ ทนน้ำมัน ไม่ละลาย เหมาะสำหรับอาหาร หลากหลายประเภทตอบโจทย์ความต้องการใช้งาน
  • ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการออกแบบ และผลิตโครงสร้างหน้ากากอนามัย CUre AIR SURE ป้องกันเชื้อโรค และอนุภาคขนาดเล็กและแบคทีเรียได้ ร้อยละ 99 ผ่านเกณฑ์หน้ากากอนามัยชั้นที่ 1 ตามมาตรฐาน Medical Face Mask ASTM F2100 สวมใส่สบาย เข้ากับโครงสร้างใบหน้าคนไทยและชาวเอเชียโดยเฉพาะดีไซน์ทันสมัย ออกแบบจากความใส่ใจสู่ความปลอดภัย ของบุคลากรทางสาธารณสุข เป็นทางเลือกสำหรับป้องกันโควิด 19 โดยหน้ากากนี้ได้รับรางวัล G-Mark Award 2021 ประเภท Accessories and personal items for professional use จาก Japan Institute of Design Promotion ด้วย
  • พัฒนา ALMIND by SCGP ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ AQUACELLA นาโนเทคโนโลยีจาก SCGP ช่วยกักเก็บความชุ่มชื่น บำรุงผิวมืออย่างล้ำลึก รับรองความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจาก DermScan Asia (Dermatologically test)
  • สนับสนุนบริษัทสตาร์ตอัป DezpaX แอปพลิเคชันและเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์อาหารแบบครบวงจร ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์คุณภาพไว้ทุกรูปแบบ พร้อมบริการออกแบบ และพิมพ์โลโก้ ในราคาที่จับต้องได้คำนวณราคาได้ทันที สามารถสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง นับเป็นรายแรกที่นำเอาอุตสาหกรรมแพคเกจจิ้ง และอุตสาหกรรมสื่่อสิ่งพิมพ์ มารวมไว้ในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย
  • นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน อาทิ ระบบดิจิทัลเทคโนโลยี (Digitization) ระบบอัตโนมัติ (Automation) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์คาดการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและผลิตผล (Productivity) ให้กับภาคอุตสาหกรรม

การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เพื่อความยั่งยืน

SCGP ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนโดยมี ESG เป็นกรอบแนวคิดที่สำคัญ ด้วยการพิจารณาความเสี่ยง โอกาส และบริหารดู แลผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง และนำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ ในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาโซลูชัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของ บริโภค ภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต และการพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพ รวมถึงคณะกรรมการ บริษัทได้มีการทบทวนนโยบายบริษัท และให้แนวทางสำหรับแผนการปฏิบัติงาน ด้านบรรษัทภิบาลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง การสื่อสารอย่างทั่วถึงกับพนักงานและคู่ธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมและ SCGP ยังได้รับการคัดเลือกโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ปี2564 และได้รับรางวัล Sustainability Excellence ซึ่่งเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศ และความภาคภูมิใจ ที่สะท้อนให้เห็นถีงความตั้งมั่นและความพร้อมของ SCGP ที่จะเติบโตด้านเศรษฐกิจควบคู่กับ การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

  • ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้น ของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศา เซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)
  • ตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณนน้ำที่นำมาใช้ลงร้อยละ 35 ภายในปี 2568 เทียบกับกรณีปกติ ณ ปี 2557 (Business As Usaul: BAU) ผ่านการกำกับดูแลและดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องตามแนวทางสากล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • ดำเนินการลดปริมาณของเสียจากอุตสาหกรรม เพิ่มสัดส่วน การนำกระดาษที่ใช้งานแล้วจากผู้บริโภค เพื่อนำกลับมารีไซเคิล และเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่สามารถนำ กลับมารีไซเคิล
  • พัฒนาและส่งมอบนวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อ สังคม “เตียงสนามกระดาษ SCGP” ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล เพื่อช่วยเหลือในภาวะขาดแคลนเตียงผู้ป่วย ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 และได้ร่วมกับ องค์กรและประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมรักสิ่งแวดล้อม และช่่วยเหลือสังคม ผ่านโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยน กระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษ SCGP” ทั้งในประเทศไทยและอาเซียนรวมกว่า 110,000 เตียง
  • ร่วมกับอำเภอบ้านโป่งและ 17 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ขยายการดำเนินการ “บ้านโป่งโมเดล” ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างอำเภอต้นแบบ ที่มีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิผล ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้มีชุมชนเข้าร่วมจำนวน 17 ชุมชน มีชุมชนบ้านหนองสองห้องได้รับรางวัลชนะเลิศ เพิ่มจากการประกวด ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบันโครงการนี้สามารถสร้าง ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะถึง 58 ชุมชน และได้ตั้งเป้าขยายผลต่อเนื่อง จนครบทั้งอำเภอบ้านโป่ง 183 ชุุมชน ในปี 2566
  • จัดกิจกรรม SCGP Packaging Speak Out ให้คนรุ่นใหม่ (Gen Z) ได้เสนอไอเดียสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับ แพคเกจจิ้ง เพื่อให้้ป็นสื่อกลางที่สามารถพูดแทนทุกประเด็น เกี่ยวกับโลกและสังคมที่ GEN Z สนใจมากที่สุดใน 2 หัวข้อ ได้แก่ Packaging Design และ Packaging Solutions เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มีเวทีในการแสดงความ สามารถด้านออกแบบ ส่งเสริมความรู้และร่วมยกระดับ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยและอาเซียนให้มีคุณภาพในระดับสากล

ข้อมูลทางการเงิน (ล้านบาท)

  2564 2563 2562 2561 2560
ข้อมูลจากงบแสดงฐานะการเงิน
สินทรัพย์หมุนเวียน 69,186 62,919 35,383 30,074 29,317
สินทรัพย์ 206,824 172,429 139,513 93,246 91,312
หนี้สิน 84,524 62,588 76,697 39,986 35,661
ส่วนของผู้ถือหุ้น 122,300 109,841 62,816 53,260 55,651
ข้อมูลจากงบกำไรขาดทุน
รายได้จากการขาย 124,223 92,786 89,070 87,255 81,455
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย * 115,100 85,148 83,024 79,362 76,539
กำไรสำหรับปี ** 8,294 6,457 5,268 6,319 4,719
EBITDA *** 21,164 16,884 15,036 14,866 12,431

* ปี 2562 มีการจัดประเภทรายการใหม่ และปี 2561 และปี 2560 มีการปรับการแสดงข้อมูลตามส่วนงานธุรกิจ
** กำไรสำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
*** กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม