หน้าหลัก > ธุรกิจเอสซีจี

ธุรกิจเอสซีจี

       

ธุรกิจเคมิคอลส์

 

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มุ่งสู่ “ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” (Chemicals Business for Sustainability) โดยกำหนดกลยุทธ์ และการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เพื่อ ตอบโจทย์ความยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สำหรับปี 2564 ธุรกิจมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูงและโซลูชันตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนการพัฒนา และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการบริหารจัดการ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และรักษาความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน ปี 2564


ความท้าทายของธุรกิจ

ในปี 2564 ธุรกิจเคมิคอลส์ยังคงพบความ ท้าทายจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ความต้องการ สินค้าเคมีภัณฑ์โดยรวมปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ แต่่มีบางอุตสาหกรรมที่ยังคงได้รับผลกระทบ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น ประกอบกับ อุุปทานที่ขาดแคลนในช่่วงครึ่งแรกของปี จากสถานการณ์ฤดูหนาวที่รุนแรงในทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ เฉลี่ยทั้งปีอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ธุรกิจจะมีต้นทุนสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ที่ผันผวนและค่า ขนส่งทางเรือที่สูงขึ้น จากปริมาณระวางสายเรือที่มีอยู่จำกัด

ผลการดำเนินงานของธุรกิจ

ธุรกิจเคมิคอลส์มีรายได้จากการขายรวม 238,390 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62 จากปีก่อน จากราคาขายของสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ EBITDA และกำไรสำหรับปีเท่ากับ 41,465 และ 28,931 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34 และร้อยละ 64 จากปีก่อนตามลำดับ เนื่องจากส่วนต่างระหว่่างราคาผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจสามารถ บริหารจัดการด้านการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและการขายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19

การปรับตัวขององค์กรเพื่อตอบรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2564

ด้านธุรกิจ

มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก
  • โครงการ Long Son Petrochemicals (LSP) โรงงานปิโตรเคมีแห่งแรกในเวียดนาม มีความคืบหน้ามากกว่าร้อยละ 90 ณ สิ้นปี 2564 โดยมีการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างเข้มงวดคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ตามแผน อีกทั้งมีการเตรียมความพร้อมเรื่่องบุคลากร และแผนการตลาด สร้างฐานลูกค้าเพื่อรองรับ การผลิตที่จะเกิดขึ้น และพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน ช่องทางการขาย และดำเนินการขายจริง เพื่อทดสอบระบบการขาย การขนส่ง การเก็บเงินสกุลเงินดอง มาตั้งแต่กลางปี 2564 ทั้งธุรกิจได้บริหารจัดการโครงการอย่างมีธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงหลักความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มุ่งพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน โดยรอบโรงงานอย่างต่อเนื่อง
  • ธุรกิจเริ่มเดินเครื่องจักรโครงการขยายกำลังการผลิต ของบริษัทมาบตาพุดโอเลฟินส์ได้สำเร็จเร็วกว่าแผน ทำให้มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ เพิ่มขึ้นประมาณ 350,000 ตันต่อปี เพิ่มความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ธุรกิจเคมิคอลส์ มียอดขายผลิตภัณฑ์พอลิโอเลฟินส์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.98 ล้านตัน ในปี 2564
เติบโตสู่ธุรกิจใหม่และเสริมสร้างนวัตกรรม
  • พัฒนานวัตกรรมและออกผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ใหม่ จำนวน 11 เกรด เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ของลูกค้าและเป้าหมาย ESG เช่น เม็ดพลาสติก HDPE สำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์ม จากเทคโนโลยี SMX ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ เม็ดพลาสติก HDPE Compound สีดำที่มี ความแข็งแรงทนทานสำหรับผลิตท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ เม็ดพลาสติก PP Block Co-polymer ที่มีค่าการไหลสูง มีความแข็งแรงและทนแรงกระแทกได้ดี ลดการเกิดรอยขาวจากการวางซ้อนทับ สำหรับสินค้าขนาดใหญ่ที่ใช้ในครัวเรือน เม็ดพลาสติก PP ที่ใช้ผลิตฟิล์มมีการดึงยืด 2 ทิศทาง (BOPP Film) สำหรับชั้นพิมพ์ในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว เป็นต้น
  • พัฒนา Digital Reliability Platform (DRP) จัดการงานซ่อมบำรุงครบวงจรตั้งแต่ การเก็บข้อมูลด้วย เซนเซอร์พิเศษที่ผลิตขึ้นเอง เป็นรายแรก เช่น Corrotex (คอโรเท็กซ์) เพื่อตรวจสอบการกัดกร่อนภายใต้ฉนวน เป็นต้น การใช้ Machine Learning และ AI ติดตามการทำงานของเครื่องจักร หากพบความผิดปกติ ระบบจะแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องทันที และสามารถทำนายความเสียหาย ก่อนเกิดขึ้นจริง ช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการใช้โรงงานจำลองแบบสามมิติ ในการวางแผนงานซ่อมบำรุง เพื่อลดเวลาการทำงานหน้างาน สามารถเพิ่ม Reliability ลดค่าใช้จ่ายได้มากถึงร้อยละ 40 อีกทั้งยังลดปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 806 ตันต่อปี

ด้านคน

ธุรกิจได้เตรียมกำลังพลชาวไทยและต่างชาติ ให้พร้อมสำหรับการขยายธุรกิจ สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อรับนักศึกษา เข้าทำงานได้อย่างเพียงพอ พัฒนาระบบ Digital Learning เพื่อรองรับความหลากหลายของกลุ่มพนักงาน ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมการทำงาน โดยบุคลากรที่มี มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ธุรกิจใหม่สามารถดำเนินได้อย่างมั่นคง ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid ที่มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ โดยพิจารณาความปลอดภัยของพนักงานและครอบครัว เป็นสำคัญทั้งได้สนับสนุน ด้านเทคโนโลยีรวมถึง ให้ความสำคัญกับ คุณภาพชีวิตของพนักงาน เช่น ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพแบบออนไลน์ เป็นต้น

ด้านนวัตกรรม

  • ธุรกิจเคมิคอลส์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบจัดการนวัตกรรม (Innovation Management Process: IMP) อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบัน มีการพัฒนาสินค้านวัตกรรมมากกว่า 100 โครงการ ออกสู่การขายได้มากกว่า 20 สินค้าในปี 2564 สามารถทำกำไร (EBITDA) ส่วนเพิ่มได้รวมมากกว่า 1,500 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มระบบจัดการนวัตกรรมดังกล่าว ในปี 2559
  • ในปีที่ผ่านมาได้เปิดตัว โรงงานต้นแบบ (Demonstration Plant) สำหรับกระบวนการ Advanced Recycling แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นเทคโนโลยี เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้ว เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Recycled Feedstock) สำหรับโรงงานปิโตรเคมีตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยกำลังการผลิต 4,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะขยายในอนาคต และยังเป็นรายแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน “ISCC PLUS” อีกด้วย
  • พัฒนาธุรกิจโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (SCG Floating Solar Solutions) ต่อเนื่องตอบโจทย์การใช้พลังงานทางเลือก ร่วมมือกับบริษัททีซีแอล จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวิศวกรรม ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 2.5 เมกะวัตต์ (ปี 2564 แล้วเสร็จ 1.5 เมกะวัตต์) ในพื้นที่บ่อน้ำของ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ลดภาระค่าไฟฟ้า และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • พัฒนาสินค้านวัตกรรม เพื่อสุขภาพและการแพทย์ร่วมกับ นักออกแบบ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ อาทิ นวัตกรรมป้องกันโควิด 19 แบบเคลื่อนที่ (Mobile Isolation Unit) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อ หน้ากากวาโรการ์ด (Varogard) รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ และถังทิ้งเข็มฉีดยา เป็นต้น
  • พัฒนาต่อยอดธุรกิจจนประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจ การให้ใช้สิทธิการใช้เทคโนโลยี (Technology Licensing) ในปีที่ผ่านมา ให้สิทธิการใช้กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก HDPE ซึ่งมาจากความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และการสร้างโรงงาน จากประสบการณ์หลายสิบปี ของธุรกิจให้แก่ลูกค้ารายใหม่ในประเทศจีน

การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เพื่อความยั่งยืน

  • จากวิกฤต Climate Change ทั่วโลกออกนโยบาย สิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และเจ้าของแบรนด์สินค้า รายใหญ่ต่างขานรับนโยบายเหล่านี้ ธุรกิจเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเชี่ยวชาญในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้เกิดนวัตกรรมภายใต้สินค้าแบรนด์ SCG GREEN POLYMER™ ใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) Reduce: สินค้าในกลุ่ม SMX™ ที่ช่วยลดปริมาณการใช้ เม็ดพลาสติกโดยยังคงคุณสมบัติเดิม 2) Recyclable: สินค้ากลุ่ม Mono-Material เพื่อใช้พอลิเมอร์ประเภทเดียวกันทั้งหมด ในฟิล์มชั้นต่าง ๆ ของบรรจุภัณฑ์ ทำให้นำไป รีไซเคิลได้ง่าย 3) Recycle: พลาสติกรีไซเคิลคุุณภาพสููง ที่เป็นการให้ชีวิตใหม่แก่พลาสติกใช้แล้วในครัวเรือน 4) Renewable: พอลิเมอร์จากวัตถุดิบที่สร้างใหม่ได้ หรือที่ย่อยสลายได้ นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตร เช่น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์บริษัทรีไซเคิล และเจ้าของแบรนด์สินค้าพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ธุรกิจเคมิคอลส์ก้าวสู่ธุรกิจรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบด้วย การลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัทซีพลาสต์ ผู้ผลิตพลาสติกรีไซเคิลรายใหญ่ที่สุด ในประเทศโปรตุเกส สร้างโอกาสใน การพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิล และขยายช่องทางการขายในตลาดยุโรป และได้ลงนามความร่วมมือกับ บราสเคม ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศ บราซิล เพื่่อศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนในโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีน ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นเม็ดพอลิเมอร์ ประเภทไบโอ-พอลิเอทิลีน ตอบโจทย์ความต้องการพลาสติก ชีวภาพในเอเชียและตลาดโลก ที่่เพิ่่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ในส่วนของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจเคมิคอลส์ยังคงมุ่งมั่นปรับปรุง กระบวนการผลิต โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ และสามารถ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 46,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2593
  • ธุรกิจเคมิคอลส์ได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืน “ISCC PLUS” ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นรายแรกของ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับ ลููกค้าและผู้บริโภคที่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งยังคว้า 4 รางวัล จากงาน Prime Minister’s Industry Award 2021 ได้แก่ รางวัลสูงสุดระดับประเทศ “อุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2564” และอีก 3 รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน ความรับผิดชอบต่อสังคม และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • ด้านการรักษามาตรฐานกระบวนการผลิต นิคมอุตสาหกรรม อาร์ไอแอล ได้รับการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-World Class จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ถือเป็นนิคมฯ แห่งแรกใน ประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน ตอกย้ำความเป็นต้นแบบอุตสาหกรรมที่ใส่ใจ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • ด้านโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนกับภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การเดินหน้าโมเดลการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ขยายผลสู่่ กลุ่มซาเล้งและชุมชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืน การขยายผลโครงการ “ถุงนมกู้โลก” ซึ่งนำถุงนมโรงเรียนมาหมุนเวียนเป็น “เก้าอี้รีไซเคิล” สู่ 6 โรงเรียนในจังหวัดระยองและกว่า 1,300 โรงเรียนทั่วประเทศ การสร้าง “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE-Bone” จากวัสดุพอลิเอทิลีน ซึ่งมีความทนทานต่อรังสียูวี อายุการใช้งานยาวนาน และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ติดตั้งแล้ว 47 ชุุด ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ สามารถกักขยะได้กว่า 71 ตัน การดำเนินโครงการ บ้านปลาเอสซีจีก้าวเข้าสู่ปีที่10 โดยได้วางบ้านปลา ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกแล้ว 2,230 หลัง ในทะเลจังหวัดระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด และระนอง
  • ด้านการส่งเสริมโครงการวิสาหกิจชุมชนได้ร่วมพัฒนา ผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและการชูอัตลักษณ์ระยอง รวมถึงการช่วยสื่อสารการตลาด และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งช่วยเพิ่มโอกาสให้ร้านค้าเข้ามาเป็นคู่ค้าสร้างรายได้ จากการสนับสนุนสินค้าและบริการชุมชนรวมกว่า 40 ล้านบาทต่อปี

ข้อมูลทางการเงิน (ล้านบาท)

  2564 2563 2562 2561 2560
ข้อมูลจากงบแสดงฐานะการเงิน
สินทรัพย์หมุนเวียน 83,483 55,275 49,258 55,241 45,183
สินทรัพย์ 377,174 283,614 230,543 213,263 193,183
หนี้สิน 186,092 125,102 76,364 57,028 49,257
ส่วนของผู้ถือหุ้น 191,082 158,512 154,179 156,235 143,926
ข้อมูลจากงบกำไรขาดทุน
รายได้จากการขาย 238,390 146,870 177,634 221,538 206,280
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย * 214,152 130,668 167,535 196,813 169,512
กำไรสำหรับปี ** 28,931 17,667 15,480 29,166 42,007
EBITDA *** 41,465 30,965 32,258 46,117 64,461

* ปี 2562 มีการจัดประเภทรายการใหม่ และปี 2561 และปี 2560 มีการปรับการแสดงข้อมูลตามส่วนงานธุรกิจ
** กำไรสำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
*** กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม