หน้าหลัก > รู้จักเอสซีจี

รู้จักเอสซีจี

สารจากคณะกรรมการ

ปี 2566 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกผันผวนอย่างมีนัยสำคัญจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อสูง ราคาพลังงานผันผวน ประกอบกับวัฏจักรปิโตรเคมีขาลง เศรษฐกิจจีนและอาเซียนฟื้นตัวช้า ด้านเศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยง จากราคาพลังงานและค่าไฟสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน

เอสซีจี ปรับองค์กรให้มีความคล่องตัวและเข้มแข็ง ก้าวข้ามความผันผวนของเศรษฐกิจ มุ่งรักษาเสถียรภาพทางการเงินให้มั่นคง ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม เร่งปรับเปลียนโครงสร้างพลังงานโดยเพิ่มสัดส่วน การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ลดต้นทุน มองหาโอกาสในวิกฤต ลงทุนธุรกิจใหม่ที่เติบโตสูง มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เตรียมคว้าโอกาสตลาดโลกฟื้นด้วยพลังงานสะอาด นวัตกรรมกรีน สุขภาพและการแพทย์ สมาร์ทลีฟวิง โลจิสติกส์ครบวงจรให้ลูกค้าใช้ชีวิตได้อย่าง “คุ้มค่า สะดวก ปลอดภัย รักษ์โลก”

  ปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจให้มีความคล่องตัว ในการสร้างนวัตกรรม และตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว  
 
     

เอสซีจีได้ปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงาน (Agile Organization) ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ โอกาสเติบโตสูง สอดรับบริบทโลก และสถานการณ์ของแต่ละธุรกิจ โดยปรับตัวตอบรับความต้องการของลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน (SCG Cement and Green Solutions) ยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างในอาเซียน ด้วยการต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง สู่นวัตกรรมสีเขียว เพื่อตอบรับกระแสการก่อสร้างรักษ์โลก เช่น การผลิตปู ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน ได้เร่งผลักดันการผลิตปูนคาร์บอนต่ำ แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ในปี 2566 มีสัดส่วนการผลิตปูนคาร์บอนต่ำ แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63 จากร้อยละ 41 ในปีก่อนหน้า รวมทั้งการนำเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบใหม่ ที่มีประสิทธิผลสูงและรักษ์โลกเข้ามาใช้ เช่น สะพานคอนกรีตสมรรถนะสูง มีโครงสร้างบางที่สุด (CPAC Ultra Bridge Solution) และโซลูชันการพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ (CPAC 3D Printing Solution) ซึ่งช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง ประหยัดแรงงาน ลดการใช้วัสดุ และเศษวัสดุเหลือ จากการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันได้ขยายธุรกิจบริหารจัดการทรัพยากรหมุนเวียน (Green Circularity Business) โดยสร้างคุณค่าจากสิ่งที่เหลือใช้ หรือสิ่งที่ไม่ได้ใช้แล้ว (Waste) นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอุตสาหกรรม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง พร้อมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง (SCG Smart Living) ต่อยอดนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง สู่การยกระดับการอยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาโซลูชันที่ช่วยประหยัดพลังงาน เสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี เพิ่มความปลอดภัยในการอยู่อาศัย ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ อาทิ “SCG Bi-ion” ระบบไอออนกำจัดเชื้อโรคในอากาศ รวมถึงฝุ่นละอองในอากาศ ระบบบำบัดอากาศเสียพร้อมประหยัดพลังงาน “SCG Air Scrubber” ช่วยประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศ ได้ร้อยละ 20-30 สำหรับงานอาคาร ศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล ปัจจุบันมีองค์กรชั้นนำติดตั้งระบบเหล่านี้แล้วกว่า 240 แห่ง พัฒนาหลังคาโซลาร์ “SCG Solar Roof Solutions” ที่มาพร้อมกับนวัตกรรม Solar Fix ระบบติดตั้งเฉพาะของ SCG ช่วยป้องกันปัญหาหลังคารั่ว จากการติดตั้งแผงโซลาร์บนกระเบื้องหลังคา โซลูชันเติมอากาศดีในบ้าน “SCG Active Air Quality” นวัตกรรมป้องกันมลพิษ และเชื้อโรคไม่ให้เข้าบ้าน กรองฝุ่น PM2.5 ได้ถึงร้อยละ 99 ช่วยทำให้อากาศภายในบ้านปลอดภัย จากฝุ่นและเชื้อโรค นอกจากนี้ ยังเปิดตัวนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและดีไซน์ที่แตกต่าง อาทิ “หลังคา SCG Metal Roof” ด้วยเทคโนโลยีการเคลือบสีพิเศษ NoiseTECH ช่วยลดเสียงตกกระทบจากฝนตกสูงสุดถึง 12 เดซิเบล เมื่อเทียบกับแผ่นเมทัลชีททั่วไป “หลังคาเซรามิก SCG EXCELLA Cresta” ด้วย Digital Printing Technology สร้างความแตกต่าง ให้กับแผ่นหลังคา ด้วยลวดลายหินธรรมชาติ ผนังตกแต่งภายนอกไฟเบอร์ซีเมนต์ “SCG WOOD-D” ทีมีลวดลายและสีสัน เหมือนไม้ธรรมชาติ

เอสซีจี เดคคอร์ (SCGD) ปรับโครงสร้างธุรกิจจาก COTTO สู่ SCGD และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เพื่อสร้าง Synergy ระหว่างธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างปร⌱ะเทศ เช่น การใช้โรงงานที่ประเทศเวียดนาม ที่มีความได้เปรียบ ด้านต้นทุนเป็นฐานการส่งออก การสร้างฐาน การจัดหาสินค้าร่วมกัน มุ่งสู่การเป็นอันดับหนึ่งในตลาดอาเซียน ชูจุดแข็งจากการมีส่วนแบ่งการตลาด กระเบื้องเซรามิกและสุขภัณฑ์ อันดับหนึ่งในไทย และส่วนแบ่งการตลาดกระเบื้องเซรามิก อันดับหนึ่งในเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งตลาดอาเซียน ได้แก่ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย มีประชากร รวมกันกว่า 560 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์รวมกันกว่า 180,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าต่อยอดความแข็งแกร่งด้วยการขยายและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า ที่มีความต้องการจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อาทิ กระเบื้องแผ่นใหญ่ กระเบื้องไวนิล SPC เป็นต้น รวมถึงเร่งการเติบโต ให้แบรนด์ในทุกประเทศเป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น COTTO ในประเทศไทย PRIME ในประเทศเวียดนาม MARIWASA ในประเทศฟิลิปปินส์ และ KIA ในประเทศอินโดนีเซีย อีกทั้งขยายช่องทางการจัดจำหน่ายที่ทั่วถึง ครอบคลุมระดับภูมิภาค

เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น แอนด์ รีเทล (SCG Distribution and Retail) ยกระดับเครือข่ายจัดจำหน่าย วัสดุก่อสร้างที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศ สู่การเป็นผู้นำธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ในระดับอาเซียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ตอบความต้องการ ของลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ พร้อมด้วยธุรกิจอEnd-to-end Supply Chain Solution ที่มีเครือข่ายธุรกิจมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ตอบโจทย์ความต้องการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อนำความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไปสู่พันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าทุกคนในทุกที่ รุกตลาดค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน โดยลงทุนเพิ่มเติมใน PT Catur Sentosa Adiprana Tbk (CSA) ผู้นำธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง รายใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขยายสาขาร้าน “Mitra10” ร้านวัสดุก่อสร้างอันดับหนึ่งในอินโดนีเซีย ตั้งเป้า 100 แห่ง ทั่วประเทศภายในปี 2573 และลงทุนเพิ่มใน Caturkarda Depo Bangunan Tbk (CKDB) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผู้นำ ร้านค้าปลีกสินค้าวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่งบ้านและสวน แบบครบวงจรในประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้แบรนด์ร้านค้า Depo Bangunan เพื่อคว้าโอกาสเติบโตต่อเนื่องในตลาด Modern Trade นอกจากนี้ เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล (SCG International) ขยายธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีอัตราการเติบโตสูง ในตลาดซาอุดีอาระเบียและอินเดีย โดยตั้งสำนักงานในซาอุฯ พร้อมเป็น“ผู้นำพันธมิตรการค้าครบวงจรระดับโลก” เชื่อมต่อกับคู่ค้าจากทั่วทุกมุมโลก

เอสซีจีพี (SCGP) SCG ได้นำ SCGP เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ปี 2563 ตามกลยุทธ์การปรับโครงสร้าง และเพิ่มความคล่องตัว มีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่อง โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นจาก 89,070 ล้านบาทในปี 2562 เป็น 129,398 ล้านบาทในปี 2566 SCGP ขยายธุรกิจท่ามกลางความท้าทายอย่างต่อเนื่อง สร้างการเติบโตผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร (Merger and Partnership: M&P) โดยในปี 2566 มีการลงทุนใน Bicappa Lab S.r.L. ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการรายใหญ่ในยุโรป เพื่อเข้าถึงองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี รวมถึงการขยายฐานลูกค้า ไปสู่ตลาดอุปกรณ์การแพทย์อื่น ๆ ในอนาคต อีกทั้งมีการลงทุนใน Law Print & Packaging Management Limited ผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์ ชั้นนำในสหราชอาณาจักร ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม อาหารสัตว์เลี้ยงที่เติบโตสูง รวมทั้ง Starprint Vietnam Joint Stock Company (SPV) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งแบบพับได้ (Offset Folding Carton) ชั้นนำในประเทศเวียดนาม ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ของการให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ของฐานลูกค้าในภูมิภาคอาเซียน

เอสซีจี เคมิคอลส์ (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในอาเซียนมีผลิตภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยในสายธุรกิจไวนิล มีส่วนขยายต่อไปที่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปกลุ่มท่อและข้อต่อ ทำให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่ง แม้อยู่ในช่วงวัฏจักรปิโตรเคมี ขาลงซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ 7-10 ปี โดยธุรกิจสามารถสร้างความเข้มแข็ง ผ่านการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ ในปี 2566 เช่น SCGC GREEN POLYMERTM มียอดขาย 218,000 ตัน สอดคล้องกับเป้าหมายผลิต 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 ลงทุนร่วมกับกลุ่มบริษัทบราสเคม (Braskem) ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Bio-based Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ด้วยกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี โดย SCGC จะนำเอทิลีนชีวภาพที่ได้ไปเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ หรือ Bio-PE (Bio-based Polyethylene) ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative Carbon Footprint) และรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป เพื่อป้อนตลาดเอเชียและยุโรปที่มีความต้องการสูง ร่วมกับบริษัทซีพลาสต์ (Sirplaste) ประเทศโปรตุเกส ขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงรวม 45,000 ตันต่อปี โดยจะเร่งเดินหน้าผลิตสินค้าในกลุ่มเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูงชนิดไร้กลิ่น (High Quality Odorless HDPE PCR Resin) รองรับความต้องการในยุโรป ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการปิโตรเคมี ครบวงจรแห่งแรกในประเทศเวียดนาม (Long Son Petrochemicals - LSP) แม้ช่วงเริ่มก่อสร้างอยู่ในสถานการณ์โควิ้ด 19 แต่ยังสามารถดำเนินการได้ตามแผนงาน ทั้งด้านเวลาและงบประมาณ โดยประสบความสำเร็จสำหรับ การดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ ในธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) ในเดือนมิถุนายน ด้วยกำลังการผลิตธุรกิจปลายน้ำ รวมทั้งสิ้น 1.4 ล้านตันต่อปี และประสบความสำเร็จในการเริ่มต้น การเดินโรงงานในธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) ในเดือนธันวาคม เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้อย่างเต็มรูปแบบช่วงต้นปี 2567 เสริมจุดแข็งฐานการผลิตใน 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสร้าง Synergy ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต จนถึงการขาย

เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ (SCG Cleanergy) ให้บริการด้านพลังงานสะอาดครบวงจร สำหรับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังการผลิตที่อยู่ระหว่าง การเตรียมความพร้อม และอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งหมด 451 เมกะวัตต์ ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อีกทั้งยังโดดเด่นด้วยระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) มีลูกค้าที่เริ่มใช้งานแล้วที่กลุ่มบริษัทสหยูเนียน บางปะกง และพร้อมขยายผลไปยังกลุ่มโรงพยาบาลพญาไทและเปาโล รวมถึงเครือโรงแรมเซ็นทารา เป็นต้น ทั้งนี้ยังได้ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและพันธมิตร ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจ และการพัฒนา Energy Trading Platform สำหรับใช้ใน การดำเนินธุรกิจการซื้อขายไฟฟ้า ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันได้ลงทุนใน Rondo Energy สตาร์ทอัพด้านพลังงานสะอาดระดับโลก จากสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยลดปริมาณ การปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไอน้ำ และความร้อนในกระบวนการผลิต ด้วยเทคโนโลยีแบตเตอรี่ความร้อน (Heat Battery Technology) ที่เปลี่ยนไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด เป็นพลังงานความร้อน Green Thermal Energy เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกที่มุ่งสู่ Net Zero โดยเอสซีจี เป็นผู้พัฒนาและผลิตวัสดุกักเก็บ ความร้อนประสิทธิภาพสูง (Thermal Media) ที่สามารถกักเก็บความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของแบตเตอรีความร้อน (Rondo Heat Battery)

ธุรกิจการลงทุนอื่น เช่น AddVentures by SCG มีการลงทุนใน Deep Technology เพื่อเข้าถึง Emerging Science-based Technology ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและนำมาต่อยอด สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมโซลูชัน ออกสู่ตลาดในภูมิภาคอาเซียน เช่น เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Clean Energy & Decarbonization) เทคโนโลยีด้าน Industrial AI & Automation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เทคโนโลยีด้าน Biotech วัสดุชีวภาพ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพทั่วโลก นอกจากนี้ เอสซีจียังมีการลงทุน ในธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น

 
     

  เร่งสร้างความได้เปรียบเรื่องต้นทุน  
 
     

เอสซีจีเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานในการผลิต(Energy Efficiency) โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดแทน การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดความเสี่ยง ด้านความผันผวนของราคาพลังงาน เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) ได้แก่ พลังงานไฟฟ้าจากลมร้อนทิ้ง(Waste Heat Power Generation: WHG) พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Energy) และเชื้อเพลิงทางเลือก เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล (Alternative Fuel: AF) เช่น เชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และพืชพลังงาน หรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นต้น รวมทั้งการใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง เพื่อทดแทนปูนเม็ด (Supplementary Cementitious Materials: SCM) ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์

ปรับโครงสร้างต้นทุนวัตถุดิบ เช่น SCGC มีการจัดหาวัตถุดิบต้นทุนต่ำและการปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้อง กับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Feed and Operation Optimization) เพิ่มการใช้วัตถุดิบ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โพรเพนและอีเทน โดยเฉพาะจากแหล่งในประเทศ จัดหาวัตถุดิบ แนฟทาจากแหล่งใหม่ ๆ ที่มีต้นทุนต่ำลง SCGP มีการลดต้นทุน วัตถุดิบเยื่อกระดาษโดยการปรับสัดส่วนการใช้วัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล โดยการเอาเยื่อกระดาษมาผสม มีการบริหารจัดการต้นทุน วัตถุดิบเยื่อกระดาษ ทีสามารถปรับสูตรการใช้เยื่อกระดาษ ให้สอดคล้องกับการผลิตสินค้า ที่แตกต่างกัน ตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารต่าง ๆ ด้วยการใช้หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) เช่น การใช้หุ่นยนต์ CiBotTM ในการตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุท่อ (Coil) ในเตาปฏิกรณ์ ทำให้สามารถตรวจวัดสภาพ และประเมินอายุการใช้งาน ของท่อได้อย่างปลอดภัย ละเอียด แม่นยำ รวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิตลดการสูญเสีย และส่งผลดีไปถึงชุมชน และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการใช้ระบบหุ่นยนต์ในการผลิตสินค้าอัตโนมัติ การใช้ระบบขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ การบรรจุและวางซ้อนสินค้าอัตโนมัติ ยกระดับให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) เพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดเวลา เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้ง Common Procurement Platform ซึ่งเป็นการรวมการจัดซื้อ ไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำลง

 
     

  เสถียรภาพการเงินมั่นคง เงินสดอยู่ที่ 68,064 ล้านบาท  
 
     

เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน เอสซีจีมุ่งเน้นการบริหารความเสียง รักษาสภาพคล่อง มีวินัยทางการเงิน จัดการปริมาณ สินค้าคงคลังให้คล่องตัว เหมาะสมกับความต้องการของตลาด พิจารณาการลงทุนตามกลยุทธ์อย่างรอบคอบ เน้นโครงการทีมีศักยภาพสูง ได้รับผลตอบแทนรวดเร็ว ชะลอโครงการไม่เร่งด่วน ส่งผลให้ฐานะทางการเงินโดยรวมของเอสซีจี ณ สิ้นปี 2566 ยังแข็งแกร่ง ผลประกอบการโดยรวม มีรายได้จากการขายรวม 499,646 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12 จากปีก่อน มีกำไรสำหรับปี 25,915 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากปีก่อน โดยสาเหตุหลักจากกำไร จากการปรับมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุนในช่วงครึ่ง ปีแรกของปี 2566 ซึ่งมีมูลค่ารวม 14,822 ล้านบาท โดยปี 2566 เอสซีจี มียอดขายสินค้า และบริการมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services: HVA) 167,691 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของยอดขายรวม อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Debt to Equity) มีสัดส่วน 0.6 เท่า กระแสเงินสดมีเสถียรภาพ มั่นคงอยู่ที่ 68,064 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัท จึงมีมติเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2566 เป็นเงินทั้งสิ้น 7,200 ล้านบาท หรือในอัตราหุ้นละ 6.0 บาท คิดเป็นร้อยละ 54.1 ของกำไรที่ไม่รวมรายการพิเศษ แบ่งเป็นเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 2.5 บาท และเงินปันผลประจำปี ส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 3.5 บาท

 
     

  เปลี่ยนเกมธุรกิจ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ชูกลยุทธ์ ESG ผสานพลังทุกภาคส่วน ร่วม เร่ง เปลี่ยนพาไทยเติบโตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ  
 
     

เอสซีจี เร่งดำเนินการตามกลยุทธ์ ESG 4 Plus: มุ่ง Net Zero - Go Green - Lean เหลื่อมล้ำ - ย้ำร่วมมือ โดยยึดหลัก สร้างความเชื่อมั่น ด้วยการดำเนินงานที่โปร่งใส ในทุกการดำเนินธุรกิจ ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 สุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593 โดยในปี 2566 เอสซีจีปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 เท่ากับ 27.08 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลงร้อยละ 20.9 เทียบกับปีฐาน 2563 ด้วยการใช้พลังงานทางเลือก เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ SCG Green Choice ยกระดับ ESG เป็นวาระแห่งชาติ ผ่านเวที ESG Symposium 2023 ร่วม เร่ง เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้เสนอข้อคิดเห็นจากการระดมสมอง ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมต่อนายกรัฐมนตรี ร่วมขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทยด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว เกษตรยั่งยืน ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจาก สระบุรีมีระบบเศรษฐกิจทั้งภาคอุตสาหกรรมหนัก การเกษตร การท่องเที่ยว ถือเป็นจังหวัดที่มีความซับซ้อน และท้าทายมากในการเปลี่ยนสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยร่วมมือกับภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรง เอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ประชาสังคมที่ได้รับผลกระทบเพื่อศึกษาเรียนรู้ ปัจจัยความสำเร็จและข้อจำกัดต่าง ๆ หากประสบความสำเร็จ จะเป็นแรงจูงใจให้จังหวัดอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันมีความร่วมมือเกิดขึ้นแล้ว อาทิ การกำหนดใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ ในทุกงานก่อสร้าง ในจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป การทำนาเปียกสลับแห้ง ช่วยลดการใช้น้ำ การปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ อีกทั้งการนำของเหลือ จากการเกษตรไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งร่วมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเครือข่ายป่าชุมชน 38 แห่ง นำไปสู่การฟิ้นฟูอนุรักษ์ป่าชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งยังร่วมผลักดัน เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นวาระแห่งชาติ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำในประเทศไทยมี 3 อุตสาหกรรมที่ลงมือทำแล้ว ได้แก่ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ยานยนต์และก่อสร้าง

ต่อยอดความร่วมมืองาน ESG Symposium สู่ระดับอาเซียน ด้วยการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contribution (NDC) ประเทศเวียดนาม ในปี 2593 และประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2603 ซึ่งเป็นประเทศที่ เอสซีจี ดำเนินธุรกิจสำคัญ อาทิ จับมือเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจไทยในเวียดนาม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศเวียดนาม จัดงาน “Vietnam Circular Economy Forum 2023” ระดมความคิดจากทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนแห่งชาติเวียดนาม ในการกู้วิกฤตเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วนในประเทศอินโดนีเซีย จัดงาน “ESG Symposium 2023 Indonesia” ภายใต้แนวคิด “ความร่วมมือเพื่ออินโดนีเซียที่ยั่งยืน” (Collaboration for Sustainable Indonesia) เร่งการบรรลุเป้าหมายการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และลดความเหลื่อมล้ำ รวมพลังจากภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และคนรุ่นใหม่ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ นโยบายและนวัตกรรมเทคโนโลยี

นอกจากนี้ยังมุ่งลดเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการสร้างโอกาสเข้าถึงการศึกษา พัฒนาทักษะอาชีพ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดี โดยการพัฒนาทักษะอาชีพ สามารถสร้างแรงงานให้สอดล้องกับความต้องการของตลาด 8,934 คน อาทิ คิวช่าง แพลตฟอร์มศูนย์รวมช่างบริการดูแลบ้าน โรงเรียนทักษะพิพัฒน์ พัฒนาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุก รวมทั้งโครงการ Learn to Earn พัฒนาอาชีพผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักบริบาลผู้สูงอายุ

 
     


คณะกรรมการบริษัทขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ร่วมทุน คู่ค้า คู่ธุรกิจ สถาบันทางการเงิน ทั้งในและต่างประเทศ ลูกค้าและผู้เกียวข้องทุกฝ่าย ที่เชื่อมั่นและให้การสนับสนุนเอสซีจีด้วยดีเสมอมา รวมถึงพนักงานทุกคนที่เร่งปรับตัวต่อเนื่อง ทุ่มเทสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ควบคู่กับการร่วมกับทุกภาคส่วนดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักความไว้วางใจและโปร่งใส ตามแนวทาง ESG ต่อไป

กรุงเทพมหานคร วันที่ 24 มกราคม 2567





   
พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล
ประธานกรรมการ
 
ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม
กรรมการผู้จัดการใหญ่