5 แนวคิดสุดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

22 เมษายน 2021 49063 views

แม้ว่าปัญหาการจัดการขยะจะยังคงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมโลก แต่ความพยายามในการคิดค้นและพัฒนาโซลูชันเพื่อการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

เอสซีจี หนึ่งในบริษัทชั้นนำของภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้บูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ จึงได้รวบรวมไฮไลต์ด้านการจัดการขยะที่น่าจับตามองของปี 2021 มาไว้ในบทความนี้

จากภายในสู่ภายนอก : โครงการจัดการขยะโดยเอสซีจี

บางซื่อโมเดล

“บางซื่อโมเดล (Bang Sue Model)” คือ โครงการจัดการขยะภายในบริษัท ที่สะท้อนแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียแต่ละประเภท ให้หมุนเวียนกลับไปสร้างคุณค่าด้วยกระบวนการที่เหมาะสม โมเดลนี้เป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ช่วยรองรับขยะที่เกิดขึ้นและนำกลับเข้าสู่วงจรการรีไซเคิล และยังส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของพนักงานภายใต้แนวคิด “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก”

บางซื่อโมเดล
ชุมชน ไร้ (LIKE) ขยะ

จากความสำเร็จในระดับองค์กร นำไปสู่การขยายผลกับให้กับชุมชนในเขตเทศบาลมาบตาพุด จ.ระยอง ภายใต้ชื่อ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” เชื่อมโยงการจัดการขยะระหว่าง บ้าน-โรงเรียน-วัด-ธนาคารขยะ เพื่อสร้างต้นแบบการบริหารจัดการทรัพยากรและขยะตั้งแต่ต้นทาง เป้าหมายของโมเดลนี้ คือ เพิ่มปริมาณขยะรีไซเคิล ควบคู่กับการลดปริมาณการฝังกลบขยะ เน้นการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านผู้นำชุมชน ผ่านการผลักดันและให้ความรู้ในด้านต่างๆ จากทีมผู้เชี่ยวชาญของเอสซีจี ตลอดจนการสร้างฐานเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ปลูกจิตสำนึกเรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งให้เยาวชนเกิดพฤติกรรม “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” พร้อมนำการเรียนรู้จากโรงเรียนต่อยอดสู่ครอบครัวและชุมชน

ชุมชน ไร้ (LIKE) ขยะ

นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของโครงการในปี 2562 จนถึงปัจจุบัน มีชุมชนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25 ชุมชน มีการจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อรวบรวมวัสดุรีไซเคิลในชุมชนมากถึง 10 แห่ง มีสมาชิกลงทะเบียนฝากขยะผ่านแอปพลิเคชันคุ้มค่ามากถึง 2,697 บัญชี ยอดบัญชีขยะรีไซเคิลในระบบกว่า 100 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 230,000 บาท (ข้อมูลเดือนเมษา 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2563) โดยปริมาณขยะรีไซเคิลทั้งหมดที่เก็บเข้าสู่ระบบสามารถคำนวณเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ถึง 73,442 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยเอสซีจีตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนชุมชนและครัวเรือนให้เข้าร่วมโครงการมากขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดระยองพัฒนาสู่เมืองไร้ขยะต่อไปในอนาคต

สร้างความสนุกสุขจากการคัดแยกขยะ

ชุมชน ไร้ (LIKE) ขยะ

คนส่วนใหญ่รู้ว่าการคัดแยกขยะนั้นสร้างประโยชน์ เพราะช่วยเพิ่มอัตราการหมุนเวียนใช้ซ้ำทรัพยากรและช่วยเพิ่มการรีไซเคิล แต่มีเพียงส่วนน้อยที่คิดว่ากิจกรรมดังกล่าวนั้นสามารถสร้างความสนุกได้ ทอมร่า (TOMRA) บริษัทผู้ผลิตเครื่องรวบรวมและค้ดแยกขยะสัญชาตินอร์เวย์จึงได้คิดค้นเครื่อง RVM หรือ Reverse Vending Machine ที่รับซื้อบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและเปลี่ยนเป็นแต้ม 

5 แนวคิดสุดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยื
Image source: AEPW

ปัจจุบันทั่วทั้งโลกมีเครื่องดังกล่าวอยู่เกือบ 84,000 เครื่อง ซึ่งช่วยรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกไปแล้วมากกว่า 40 ล้านล้านชิ้นในแต่ละปี

ปลดล็อกขยะพลาสติกคืนคุณค่าสู่ชุมชน

หนึ่งในโปรเจกต์ที่ส่งเสริมการคัดแยกพลาสติกใช้แล้วและสนับสนุนการหมุนเวียนใช้ซ้ำวัสดุก็คือ มูลนิธิ ASASE ในเมืองอักกรา ประเทศกานา โดยสมาชิกของมูลนิธิที่เป็นคนท้องถิ่นจะช่วยกันรวบรวมพลาสติกใช้แล้ว นำมาล้างให้สะอาดและทำให้แห้ง จากนั้นจึงนำพลาสติกเหลือใช้เหล่านี้ไปบดย่อยให้เป็นชิ้นเล็ก ก่อนจะนำไปขายต่อให้กับโรงงานรีไซเคิลพลาสติก

5 แนวคิดสุดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
Image source: AEPW

โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในชุมชน และยังได้รับการสนับสนุนจาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ประกอบไปด้วยบริษัทสมาชิกที่มาจากทุกภาคส่วนในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของอุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งเอสซีจีถือเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งขององค์กรนี้ด้วย ทำให้โครงการนี้สามารถขยายกำลังการผลิตจาก 35 ตัน ในปี 2019 ไปเป็น 500 ตัน ในปี 2020 โดยมูลนิธิตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องผลิตพลาสติกบดย่อยนี้ให้ได้ถึง 2,000 ตันในปีนี้ นอกเหนือไปจากการขยายผลความสำเร็จของโครงการไปยังเมืองอื่น ๆ ในประเทศ คลิกรับชมวิดีโอ มูลนิธิ ASASE ได้ที่ https://bit.ly/39wwtZo

แปลงร่างขยะให้เป็นที่พักอาศัยน่าอยู่

พลาสติกเป็นวัสดุที่ทนทาน น้ำหนักเบา ราคาถูก และขึ้นรูปได้ง่ายกว่าวัสดุอื่น ๆ และด้วยข้อดีทั้งหมดนี้จึงทำให้พลาสติกเหมาะกับการเป็นวัสดุสำหรับงานก่อสร้าง Upcycle Africa อีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศยูกันดา ได้นำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาใช้ก่อสร้างเป็นที่พักอาศัย นับแต่แต่เริ่มโครงการนี้มา มีพลาสติกกว่า 3 ล้านชิ้นถูกนำหมุนเวียนสร้างคุณค่าใหม่ เพื่อให้กลายมาเป็นบ้านกว่า 117 หลัง

5 แนวคิดสุดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
Image source: AEPW

และในช่วงกลางปีนี้ ทางโครงการมีแผนที่จะนำร่องการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยมุ่งหวังให้โครงการนำร่องนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการใช้งานขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้เป็นวัสดุก่อสร้างที่พักอาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลดพลาสติกหลุดลอดลงทะเลและมหาสมุทร

Jembrana Regency เป็นส่วนเล็ก ๆ ของบาหลีในหมู่เกาะอินโดนีเซียที่มีธรรมชาติอันสวยงาม แต่มีการจัดการขยะที่ยังไม่ทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ได้แก่ การทิ้ง การฝัง และการเผาขยะอย่างผิดกฎหมายในพื้นที่

5 แนวคิดสุดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
Image source: AEPW

เพื่อรักษาความงดงามของธรรมชาติให้คงอยู่ Project STOP Jembrana จึงถูกริเริ่มขึ้น โดยมีการก่อสร้างระบบการจัดการขยะที่จัดให้มีการออกเก็บขยะเป็นรายสัปดาห์ และนำขยะเหล่านั้นส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิล ระบบดังกล่าวจะช่วยจัดการกับขยะราว ๆ 2,200 ตันต่อปี ไม่ให้เล็ดลอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ทางทีมงานกำลังศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อขยายผลไปสู่ทุกเกาะของประเทศอินโดนีเซีย 

เครดิตบทความ: https://endplasticwaste.org/en/our-stories/6-bright-ideas-in-2021

บทความนี้มีประโยชน์กับคุณหรือไม่

คลิกเพื่อโหวตบทความ

Average rating 4.6 / 5. Vote count: 34

No votes so far! Be the first to rate this post.