Product Development จากวัสดุเหลือใช้

5 กรกฎาคม 2019 7009 views

การเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ที่ไม่มีประโยชน์ ให้สามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าได้อีก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

1. วัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำมาเป็นวัสดุทดแทนวัตถุดิบจากธรรมชาติในการผลิตสินค้าของเอสซีจี

โดยคำนึงถึงคุณสมบัติในการทดแทน และสัดส่วนการใช้วัสดุทดแทนให้มากที่สุด เพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพได้มาตรฐาน และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาวัสดุเหลือใช้จากทั้งภายในเอสซีจี และจากพันธมิตรภายนอก โดยเอสซีจีพยายามจะพัฒนาสินค้าทุกรายการให้มี % Recycled Material เพิ่มขึ้น ได้แก่ 

a. ฉนวนกันความร้อน ใช้วัสดุ Recycle (ขวดแก้วรีไซเคิล 75 – 80%) ทดแทนทรายจากธรรมชาติ

b. กระเบื้อง ใช้วัสดุ Recycle (เศษดิน, เศษเซรามิก 7 – 12%) ทดแทนดินจากธรรมชาติ

c. สุขภัณฑ์ ใช้วัสดุ Recycle (เศษดิน, เศษเซรามิก 14 – 19%) ทดแทนดินจากธรรมชาติ

d. ก๊อกน้ำ ใช้วัสดุ Recycle (เศษทองเหลือง, เศษทองแดง 27-32%) ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ

e. ไม้สังเคราะห์ ใช้วัสดุ Recycle (เศษฝุ่นแคลเซียม เศษไม้สังเคราะห์ 6 – 11%) ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ

f. หลังคา

  • หลังคาคอนกรีต ใช้วัสดุ Recycle (เศษเถ้าลอย Fly Ash,หินฝุ่น และ เศษกระเบื้องหลังคา 17 – 22%) ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ
  • หลังคาเซรามิก ใช้วัสดุ Recycle (เศษดิน, ตะกอนดิน และ เศษกระเบื้องหลังคา 18 – 23%) ทดแทนดินจากธรรมชาติ

2. วัสดุเหลือใช้จากการผลิตสินค้าของเอสซีจีส่งต่อให้ชุมชนที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนในการเกษตร หรือการผลิตสินค้าอื่นๆ ของชุมชน โดยคำนึงความปลอดภัยในการใช้วัสดุเหลือใช้ และการพัฒนาความยั่งยืนให้ชุมชนเป็นหลัก

a. ดินผสม และ ดินเพาะกล้าข้าวนาโยน 

ใช้ดินเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงานสุขภัณฑ์และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มาผลิตเป็นดินสำหรับจัดสวน ปลูกต้นไม้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับ ดิน และ กากดินเหลือใช้จากกระบวนการผลิต  สร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่สระบุรีที่โรงงานตั้งอยู่  ได้แก่ ชุมชนชำผักแพว แก่งคอย / ชุมชนโคกแย้ หินกอง / เทศบาลหินกอง 

b. บล็อคปูพื้น

ใช้กระเบื้องเซรามิกที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มาบดและเข้ากระบวนการการผลิตอิฐบล็อคปูพื้น และจัดสวน

c. ถ้วย/ชามเซรามิก (ชามตราไก่)

ส่งตะกอนดินจากการผลิตสุขภัณฑ์เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตถ้วยชาม

d. แก้วกาแฟด่านเกวียน

ส่งตะกอนดินจากการผลิตกระเบื้องไปผลิตเป็น แก้วกาแฟ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ชุมชนด่านเกวียน

บทความนี้มีประโยชน์กับคุณหรือไม่

คลิกเพื่อโหวตบทความ

Average rating 4.8 / 5. Vote count: 4

No votes so far! Be the first to rate this post.