Bangkok Pilot Model โมเดลนำร่อง กทม.

“Mega City Project เพื่ออนาคตชุมชนเมืองร่วมมือจัดการขยะ”


เปลี่ยนจุดจบของขยะที่หลุบฝังกลบ ให้หมุนวนกลับมีชีวิตอีกครั้ง

พื้นที่กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีความเจริญและมีการจัดการขยะที่ดีสำหรับปัจจุบัน แต่อาจไม่สามารถดูแลได้อย่างเพียงพอในกรณีที่เมืองขยายตัวตามความเจริญ (Urbanization) โดยเฉพาะขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์และอื่นๆ ที่มากขึ้นตามพฤติกรรม และอาจกลายเป็นปัญหาที่ ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัยของผู้คนในชุมชนมากขึ้นได้ การแก้ปัญหาในเมืองใหญ่ที่มีความหนาแน่นประชากรมาก อาจจำเป็นต้องบูรณาการองค์ความรู้ ความสามารถ และความร่วมมือ แบบครบวงจร เพื่อเตรียมสร้างความพร้อมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้สอดคล้อง เพื่อให้เกิดการจัดการขยะภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้จริง ที่สำคัญ เราจำเป็นต้องมีโมเดลธุรกิจที่สอดคล้อง เพื่อเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า ให้เกิดการบริหารจัดการขยะ และเกิดการแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะส่งผลให้ขยะพลาสติกทุกกระเภทสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่ใช่มีจุดจบเป็นเพียงขยะที่ทิ้งยังหลุมฝังกลบ (Municipal Landfill) หรือถูกเผาเพื่อใช้เป็นพลังงาน (Waste to energy: W2E) ซึ่งอาจส่งผลต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว

รัฐ-เอกชน-สังคม ความร่วมมือครบวงจรเพื่อแก้ปัญหา

โมเดลนำร่องกรุงเทพ (Bangkok Pilot Model) คือ โครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือ Thailand Public-Private Partnership for Plastic and Waste Management (PPP Plastics) ซึ่งได้รับการก่อตั้งโดยกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่มุ่งแก้ปัญหาขยะพลาสติกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านหลายโครงการที่ริเริ่มขึ้น ในเขตพื้นที่นำร่องของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดระยอง โดยเริ่มดำเนินการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และในอนาคต กำลังจะมีความร่วมมือ และการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มบริษัทในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมพลาสติกระดับโลก

จุดฝากทิ้งขยะ (Drop-offPoints) เชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบ

จุดฝากทิ้งขยะ (Drop-off Points) เป็นการสร้างระบบการเก็บกลับหมุนเวียนนำร่อง พร้อมไปกับงานศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ตั้งแต่การทำความเข้าใจแรงจูงใจในการคัดแยกขยะต้นทาง แนวทางการแลกประโยชน์กลับสู่ผู้บริโภค/ผู้ทิ้ง รวมถึงความต้องการของกลุ่มคนที่ดำเนินการในห่วงโซ่คุณค่าของสังคมเมืองใหญ่ และศึกษาพฤติกรรมที่จุดฝากทิ้ง (Drop-off point) รูปแบบใหม่ อันเป็นกลไกการเก็บวัสดุกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
นอกจากนี้ ยังมีการนำเพลทฟอร์มดิจิตัลและจัดตั้งระบบถังเก็บกึ่งอัตโนมัติ และมาประยุกต์ เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ขนส่ง ซื้อขาย และแลกประโยชน์จากขยะวัสดุให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และศึกษาโมเดลธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำสื่อดิจิทัลSocial Media มาใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อยกระดับความรู้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้เข้าใจระบบเศรษฐกิจใหม่ และเชื่อมโยงได้ถึงประโยชน์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งรวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาระบบการจัดการ โดยสังคม เยาวชน และผู้สนใจทั่วไป เป็นจุดเริ่มเพื่อนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ และศึกษาโอกาสปรับเปลี่ยนให้เป็นตลาดเสรีสำหรับการซื้อ-ขายพลาสติกเป้าหมาย(Open/Alternative Waste Market) ทุกประเภทอย่างมีระบบและใช้ในการสร้างระบบการตรวจสอบวัสดุรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานสากล และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาให้ภาครัฐ และนำ มาใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการขยะให้ดีและเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในอนาคต

วีดีโอ

ยังไม่มีวีดีโอ

โบรชัวร์

ยังไม่มีโบรชัวร์

ติดต่อเรา