Contact Us
Story
Story > Upstream > ฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน
Share
ฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน

ฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว” เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น กิ่งไม้ ไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่าย ๆ ค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น อันเป็นเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ


พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2532 ณ ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ “...ควรสร้างฝายลำธารตามร่องน้ำเพื่อช่วยชะลอกระแสน้ำและเก็บกักน้ำสำหรับสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ...”


ฝายกึ่งถาวรแบบกล่องตาข่าย (gabion)

พัฒนามาจากฝายแบบหินทิ้งให้เกิดความคงทน แน่นหนา สามารถนำก้อนหินขนาดกลางและขนาดเล็ก มาใช้ได้ ป้องกันมิให้ถูกน้ำพัดพาไปได้ ด้วยการใช้ตาข่ายพับประกอบเป็นกล่อง วางเรียง ตามแนวที่จะสร้างฝาย มัดกล่องตาข่ายให้เชื่อมติดกันเป็นแผง ฝายชนิดนี้ควรทำบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ และสร้างห่างกันโดยให้สันของฝายที่ต่ำกว่าอยู่สูงเท่ากับฐานของฝายที่อยู่ถัดขึ้นไป โดยจะเน้นให้สามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝาย


พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2521 ณ อาเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน “...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ากับลาธารขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทาให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้าลาธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ”


ฝายถาวร สร้างในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหลัก สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เนื่องจากขนาดของลำธารที่กว้างขึ้นและปริมาณน้ำที่ไหลหลากมากและรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จึงพัฒนารูปแบบฝายให้มีความแข็งแรงมากขึ้นเพื่อให้สามารถชะลอความรุนแรงและเก็บกักปริมาณน้ำที่มีมากให้อำนวยประโยชน์ได้นานขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำของชุมชน

พระราชดํารัสเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2521 ณ อําเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน “...สําหรับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลําห้วย จําเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความ ชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องนํ้าและบริเวณที่นํ้าซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นนํ้าไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจํานวนน้อยก็ตาม สําหรับแหล่งนํ้าที่มีปริมาณนํ้ามาก จึงสร้างฝายเพื่อผันนํ้าลงมาใช้ในพื้นที่ เพาะปลูก...” 

Back