HIGHLIGHTS
- นักวิจัยยุคใหม่ต้องเรียนรู้และปรับตัว รับฟัง พูดคุยกับลูกค้ามากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมที่คิดค้นต้องตอบโจทย์เทคโนโลยีความต้องการของลูกค้า และสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจ
- การรับรู้ถึง pain point ของลูกค้า ช่วยให้พัฒนาโซลูชั่นได้ตรงจุด
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลายและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว นักวิจัยในปัจจุบันจึงไม่ได้เป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์เพียงเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้ด้านการตลาด การสร้างผลตอบแทนให้ธุรกิจ และปรับตัวเพื่อให้ทำงานภายใต้ข้อจำกัด และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในบทความนี้ ทีมนักวิจัยจะมาเล่าให้ฟังถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของนักวิจัยในปัจจุบัน
คุณสมโชค ลิ่มวงศ์เสรี Senior Researcher, SCG Packaging เล่าว่า ในปัจจุบัน Market Back Approach เป็นสิ่งที่ถูกเน้นเป็นสำคัญ เพื่อที่จะมั่นใจว่านวัตกรรมหรือเป้าหมายได้หรือไม่ หากสองสิ่งดังกล่าวตรงกัน จึงดำเนินการพัฒนาจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งมีตลาดรองรับ สามารถขายในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การบรรจบกันระหว่างความต้องการของลูกค้า และความรู้ความสามารถของนักวิจัย ต้องพิจารณาว่าความรู้ความสามารถที่มี สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต่อไป
เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา คุณจุฑามาศ มหาเจริญสิริ อีกหนึ่งนักวิจัยจาก Packaging Business เล่าว่า วิธีการคิดงานในปัจจุบัน เริ่มต้นจากการหาเทรนด์ และเทียบเคียงกับความสามารถที่มีอยู่ มีสิ่งใดที่ต้องรีบพัฒนาสิ่งใดที่ต้องร่วมพัฒนากับผู้อื่นหรือหาตัวช่วยอื่น ๆ เพื่อให้ได้โซลูชันให้กับลูกค้า จากนั้นจึงเรียงลำดับความสำคัญ
คุณอิทธิพร อาจปรุ Researcher, SCG Packaging เล่าถึงการทำงานว่าในการคิดค้นนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นักวิจัยในปัจจุบันต้องทำตัวเป็นนักการตลาดมากขึ้น เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centricity) คิดแบบองค์รวมมากขึ้น การคิดค้นนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างต้องคิดถึงเป้าหมายสูงสุด คือ ทำแล้วต้องผลิตไปใช้เชิงพาณิชย์ได้ ผลิตภัณฑ์ต้องตอบโจทย์เทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า การคิดค้นนวัตกรรมในปัจจุบันต้องตอบสนองธุรกิจได้
นักวิจัยช่วยเป็นตัวเชื่อมระหว่างทีมการตลาดและลูกค้า เพื่อแปลงความต้องการของลูกค้าให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริง ในบางครั้งทีมนักวิจัยจึงต้องเข้าไปพบลูกค้าพร้อมกับทีมการตลาด รับฟังและซักถามร่วมกันเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะรู้และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพราะการคิดผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ ไม่สามารถทำสำเร็จได้โดยทีมนักวิจัยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
“เราต้องคุยกับลูกค้าเพื่อหาความต้องการ ทำให้ได้ข้อมูลที่ลึก
และบางครั้งก็ได้รู้ pain point ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ทำให้เราพัฒนาโซลูชั่นได้ตรงใจมากขึ้น”
การเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งแต่เริ่มจนจบทำให้ทีมนักวิจัยสามารถนำความต้องการทางการตลาดของลูกค้า มาค้นหารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์และใช้งานได้จริง นอกจากนี้ยังต้องมั่นใจว่า เมื่อนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เปลี่ยนผ่านจากงานวิจัยสู่การผลิตเพื่อการพาณิชย์ จะมีราคาที่สมเหตุสมผล คุ้มค่า ลูกค้ายอมจ่าย มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการในเวลาที่กำหนด
คุณพรรณราย รุ่งศิริวัฒนา Researcher, Packaging Business ยังเสริมอีกว่า ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามโลก นักวิจัยอาจจะต้องจำลองว่าตัวเองคือผู้บริโภคคนหนึ่ง เพื่อเข้าไปอัปเดตเทรนด์ใหม่ในกระแสโลก ค้นหามุมมองด้านต่าง ๆ จากการดูงานแสดงนิทรรศการ ร่วมถึงเข้าไปเป็น Market research สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ จนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ตอบโจทย์มากที่สุด
“เราไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง เราต้องเลือกทำในสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค และเป็นสิ่งที่เราสามารถพัฒนาทำให้ได้”
เมื่อได้รับโจทย์บางอย่างจากลูกค้า หน้าที่ของนักวิจัยคือทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นไปได้ รู้สึกว่าเป็นความท้าทาย ที่ต้องทำให้ได้บนทรัพยากรที่จำกัด จะปรับกระบวนการอย่างไร ต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานใด ตอนไหน ทำอย่างไรให้แต่ละภาคส่วนเห็นด้วยและเข้าใจไปในทางเดียวกับเรา
อีกหนึ่งความท้าทายที่นักวิจัยในปัจจุบันต้องพบเจอ คุณบรรเจิด งามนาวากุล Researcher, SCG Packaging เล่าว่า คือการทำให้ลูกค้าเชื่อในสิ่งที่เรากำลังพัฒนา นอกจากนี้การทำงานแบบร่วมมือกันกับทุกฝ่าย ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ การทำงานกับคน ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน และการเปิดใจ เพื่อสร้างความร่วมมือที่จะพาทุกฝ่ายไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
สิ่งหนึ่งที่ทีมนักวิจัยเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ให้ความสำคัญ คือการทำงานด้วยรูปแบบที่คล้ายสตาร์ทอัพ ดังนั้นเมื่อแต่ละฝ่ายมีความรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงเกิดขึ้น นำไปสู่การสร้างความร่วมมือเพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน
หากจะให้คำจำกัดความของบทบาทนักวิจัยที่เปลี่ยนไป ดร.วัชรา อนันต์นฤการ Senior Researcher, SCG Packaging คิดว่า คำว่า Business Scientist น่าจะลงตัวที่สุด คือ ให้นักวิจัยมีโอกาสเรียนรู้รูปแบบธุรกิจสมัยใหม่มากขึ้น ออกไปพบลูกค้าร่วมกับฝ่ายขายและการตลาด เพื่อรับฟังความต้องการของลูกค้า ค้นหา Pain Point และ Latent Need ให้เจอ เพื่อนำมาคิดต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้จริง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่ ?
Average rating 3 / 5. Vote count: 2
No votes so far! Be the first to rate this post.