เปิดประตูสตาร์ทอัพ สตูดิโอแห่ง SCG นามว่า ZERO TO ONE by SCG

 

ในวงการสตาร์ตอัพโดยเฉพาะสายเทคโนโลยี หนังสือ Zero to One ที่เขียนโดย Peter Thiel ผู้ก่อตั้ง PayPal (แพลตฟอร์มการโอนเงินออนไลน์) นั้นเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางในการตั้งบริษัทใหม่และสร้างนวัตกรรมให้แตกต่างจากผู้อื่น และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

สำหรับใครที่เกิดไม่ทันยุคฟองสบู่ดอทคอมแตกในช่วงปี 1999 หนังสือเล่มนี้ไล่เรียงเหตุการณ์นี้อย่างเป็นลำดับ ตั้งแต่ผู้คนในโลกตะวันตกต่างให้ความสนใจและมีความเชื่อว่าธุรกิจออนไลน์จะเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้เกิดการตั้งราคาธุรกิจเกินความเป็นจริงสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลาญเงินในช่วงแรกไม่เป็นไรเพราะนั่นคือสัญญาณของการเติบโต จนเกิดภาวะฟองสบู่แตก และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นอีก บทเรียนน่าสนใจที่ได้จากหนังสือเล่มนี้น่าจะเตือนใจและสอนเราได้อย่างดี

 

 

สู่ Zero to One ที่เอสซีจี

จากแนวคิดการสร้างนวัตกรรมจากศูนย์ สู่การนำมาปรับใช้ใน ZERO TO ONE by SCG ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพ สตูดิโอ ที่เอสซีจี พื้นที่แห่งนี้เปิดทางให้พนักงานเอสซีจีจากทุกแผนกที่สนใจการสร้างนวัตกรรมใหม่ อาจจะเริ่มแค่สนใจหรือมีไอเดียอะไรบางอย่าง ให้เข้ามาศึกษาหาความรู้หรือทำงานร่วมกัน ผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องทั้งการเสวนา สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ไปจนถึงการทำโครงการจริง โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยโค้ชและให้คำปรึกษา ทั้งตัวสตูดิโอเองก็มี Playbook ที่คอยอัพเดทอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ระหว่างสตาร์ทอัพ


“ZERO TO ONE by SCG
เป็นกลไกหลักในการที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องให้กับทางเอสซีจี เราจะใช้วิธีของการทำสตาร์ทอัพ โดยจะช่วยน้องๆ ในองค์กรสร้างธุรกิจหรือนวัตกรรมออกมาได้เร็วที่สุด
คุณวสันต์ ภักดีสัตยพงศ์ Head of DeepTech Innovation and Head of Zero to One by SCG

ZERO TO ONE by SCG จะแบ่งสเตจของการสนับสนุนและผลักดันพนักงานเหล่านี้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ช่วยค้นหาปัญหาหรือสิ่งที่อยากเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง (ระยะฟักไข่ – HATCH) หาวิธีการตอบโจทย์ปัญหานั้น (ระยะเดิน – WALK ไปจนถึงขยายผลให้กลายเป็นธุรกิจจริง (ระยะบิน – FLY) รวมถึงการสนับสนุนพื้นที่การทำงาน (Co-working space) หรือสิ่งอื่นๆ ที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างทีมต่างๆ ได้ เช่น ระบบบัญชี

ด้านความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนี้ ว่า ZERO TO ONE by SCG มีสตาร์ทอัพซึ่งเป็นพนักงานเอสซีจีอยู่ 11 ทีม โดยแบ่งเป็นระยะ WALK 7 ทีม และระยะ FLY 4 ทีม แต่ละทีมก็ได้ผ่านขั้นตอนของการทดสอบความเป็นไปได้ทั้งในแง่ของลูกค้า ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และโมเดลทางธุรกิจแล้ว และหลังจากนี้ก็จะเริ่มโฟกัสไปยังการขยายฐานลูกค้าและการเติบโตทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่ง 4 ทีมแรกที่ FLY ก็ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งในโครงการของเรา

ปลายทางของสตาร์ทอัพภายใต้อ้อมอกของ ZERO TO ONE by SCG เป็นได้ทั้งการออกไปเป็นสตาร์ตอัพจริงๆ คือออกจากบริษัทฯ ไปทำธุรกิจของตนเอง หรือเลือกที่จะเป็นบริษัทข้างในเอสซีจีก็ได้

ในสภาพแวดล้อมของวงการสตาร์ทอัพโดยรวม ในนามของ ZERO TO ONE by SCG คุณวสันต์ก็หวังว่าคนที่อยู่ข้างนอก หรือ VC (Venture Capital – กลุ่มนักลงทุนในสตาร์ทอัพ) รายต่างๆ จะเห็นว่าสตาร์ตอัพที่ออกมาจากหน่วยงานนี้ มีคุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันและเติบโตได้

 

 

ก้าวต่อไปของ Zero to One

เกือบ 3 ปี ตั้งแต่เปิดสตูดิโอแห่งนี้มา สตูดิโอได้เรียนรู้และพัฒนตัวเองอยู่เสมอ โดยแผนต่อไปในอนาคต ตั้งเป้าไว้ว่านอกจากจะทำงานร่วมกับพนักงานในเอสซีจีแล้ว ตอนนี้ก็มีความคิดที่อยากจะทำงานกับบุคคลภายนอก ในรูปแบบ Venture Builder เพราะเชื่อว่า หากสตูดิโอมีความสามารถที่จะ leverage ความแข็งแรงขององค์กรหลายๆ องค์กรได้ ตัวสตาร์ทอัพก็จะยิ่งแข็งแรงและประสบความสำเร็จมากขึ้น

นี่เป็นอีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญที่เอสซีจีกำลังจะสวิตช์จาก 0 เป็น 1 อีกครั้งด้วยการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยความหวังที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับคนไทยและสเกลใหญ่ไปถึงระดับโลก

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scg.com/zerotoone/

 

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่ ?

Average rating 5 / 5. Vote count: 4

No votes so far! Be the first to rate this post.