Social

โครงการบึงบางซื่อ

HIGHLIGHT

  • จากพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปูนซีเมนต์เพื่อพัฒนาประเทศ ได้กลายมาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนกว่า 1,500 คน หรือ 200 ครัวเรือน
  • ทำให้ชุมชนมี “บ้านใหม่ ชีวิตใหม่” บนพื้นที่ทั้งหมด 61 ไร่ ที่สร้างเป็นทาวน์เฮ้าส์ 60 หลัง บ้านกลาง 4 ยูนิต อาคารชุด 4 ชั้น 3 อาคาร รวมทั้งหมด 133 ยูนิต
  • ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายในโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ “พลิกฟื้นชุมชน..สร้างสังคมที่ยั่งยืน”

โครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ “พลิกฟื้นชุมชน..สร้างสังคมที่ยั่งยืน”

พลิกฟื้นชุมชนแออัด ไร้สาธารณูปโภคของตัวเอง สู่ชุมชนเมืองต้นแบบ ด้วยการผนึกกำลังของชุมชน เอสซีจี และภาครัฐ ชาวชุมชนบึงบางซื่อกว่า 200 ครัวเรือน มี “บ้านใหม่ ชีวิตใหม่” พร้อมคุณภาพชีวิตที่ร่วมกันออกแบบและดูแลให้เข้มแข็งต่อไปอย่างยั่งยืน

“บึงบางซื่อ” (หรือบ่อฝรั่ง) ความเป็นมาของการผลิตปูนซิเมนต์ในประเทศไทย

ด้วยวิสัยทัศน์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยต้องพึงพาตนเองเพื่อความยังยืน จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โรงงานผลิตปูนซิเมนต์ไทย” ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก นั่นก็คือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัดสินไช้ โดยเปิดดำเนินการที่ โรงงานปูนซิเมนต์ไทยบางซื่อ เป็นแห่งแรกในปีพุทธศักราช 2458

“บึงบางซื่อ” แหล่งกำเนิดวัตถุดิบสำคัญกับการผลิตปูนซีเมนต์เพื่อพัฒนาประเทศ

  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย โรงงานบางซื่อ มีบทบาทสาคัญกับการพัฒนาสร้างความเจริญให้กับประเทศ ในฐานะผู้ผลิตปูนซีเมนต์แห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนั้น ทำให้ประเทศไทยมีปูนซีเมนต์ที่ผลิตเอง ไม่ต้องนำเข้าจากยุโรป ปูนซีเมนต์จากโรงงานบางซื่อใช้สร้างสถานที่สำคัญของประเทศมากมาย อาทิ สถานีรถไฟหัวลำโพง สะพานพระรามหก โรงแรมดุสิตธานี รวมทั้งอาคาร บ้านเรือน ย่านธุรกิจการค้า ที่สร้างความเจริญให้กับประเทศไทยจวบจนทุกวันนี้
  • บึงบางซื่อ เป็นแหล่ง “ดินดำ” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานบางซื่อ จึงเป็นพื้นที่ที่มีภูมิหลังที่สำคัญ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นรากฐานในการสร้างความเจริญให้กับประเทศ
    โดยบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัดสินใช้ เริ่มขุดดินดำจากบึงบางซื่อเป็นวัตถุดิบ ในปี 2548

“ชุมชนบึงบางซื่อ”

  • บริษัทปูนซิเมนต์ไทยได้ใช้พื้นที่บึงบางซื่อสร้างบ้านให้คนงานและครอบครัว รวมถึงคนงานที่เฝ้าเครื่องจักร ได้อยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ จึงถือกำเนิดเป็น “ชุมชนบึงบางซื่อ” (หรือบ่อฝรั่ง) 
  • ภายหลังเลิกใช้งานบึงบางซื่อ ในช่วงประมาณปี 2511 ชุมชนดั้งเดิมก็คือครอบครัวคนงานที่เคยทำงานกับ SCG ยังคงอยู่อาศัยต่อไปสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งมีคนต่างถิ่นทั้งใน กทม. และต่างจังหวัดอพยพเข้ามาอยู่ ขยายตัวจนเป็นชุมชนใหญ่ สภาพความเป็นอยู่อย่างแออัด ด้วยการอพยพเข้ามาอยู่อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า การจัดการขยะชุมชน ฯลฯ และ มีปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา ทั้งด้านความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ การศึกษา อาชีพ รวมทั้งปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
  • บ้านใหม่…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า บึงบางซื่อมีพื้นที่ทั้งหมด 61 ไร่ สร้างเป็นทาวน์เฮ้าส์ 60 หลัง  บ้านกลาง 4 ยูนิต อาคารชุด 4 ชั้น 3 อาคาร รวม 133 ยูนิต โดยปัจจุบันชุมชนประมาณ 1,500 คนได้ย้ายเข้าอยู่อาศัยอย่างอบอุ่นและปลอดภัย 

โครงการสานพลังประชารัฐ–การพัฒนาบึงบางซือ เติมเต็มให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ

  • รัฐบาลให้ความเห็นชอบโครงการฯ โดยแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนสานพลังประชารัฐ การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมสนับสนุนประสานการดำเนินงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน
  • รฟท. อนุญาตให้ใช้ที่ดินพัฒนาเป็นทางเข้าออก
  • สำนักงานสลากกิจแบ่งรัฐบาล สนับสนุนเงิน 200 ล้านบาท สำหรับสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาเติมเต็ม ที่ได้ทั้งบ้านและวิถีชีวิตเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและศักด์ศรีของชุมชนอย่างแท้จริง
  • เป็นโครงการที่ผ่านกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชน และการพัฒนาบึงน้ำสาธารณะสำหรับการพักผ่อน
  • ดำเนินการโดยเครือข่ายที่มีองค์ความรู้และเกี่ยวข้องโดยตรงคือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำนักงานเขตจตุจักร และ SCG

การพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของชุมชน

  • ได้บ้านที่มีคุณภาพและความสมบูรณ์ รวมทั้งให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีคิดชุมชนให้มีความเอื้ออาทร ความร่วมมือ ความมีจิตอาสา ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชนที่มีทั้ง “บ้านพร้อมวิถีชีวิต” ซึ่งเกิดจากการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
  • สร้างการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การยืนยันสิทธิ์ร่วมโครงการเพื่อความเสมอภาคและเป็นธรรม การสร้างวินัยการออมเงินเพื่อเป็นเจ้าของบ้าน การร่วมกันคิดและออกแบบบ้านให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต การกำหนดกติกาการอยู่อาศัยร่วมกัน รวมทั้งการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม และความสะอาดของชุมชน 
  • เสริมอาชีพสร้างรายได้เพิ่ม ด้วยการส่งเสริมอาชีพปลูกผักอินทรีย์ หมักปุ๋ยจากขยะ และพร้อมพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ต่อไป
logo

เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก