โครงการ “ชุมชนต้นแบบ ลดการเผา”
HIGHLIGHT
- ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อนจากการเผาเศษผลผลิตทางเกษตร ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
- เอสซีจีมีนโยบายการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Net Zero Emission) จากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากการใช้ฟอสซิลของภาครัฐ
- ปัจจุบันบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ใช้เชื้อเพลิงทดแทน แกลบ ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ไม้สับ ปริมาณทั้งหมด 96,000 ตัน/ปี ร้อยละ 16 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด
- ในปี 2022 ตั้งเป้าใช้เชื้อเพลิงทดแทนปริมาณทั้งหมด 144,000 ตัน/ปี ร้อยละ 24 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่จังหวัดลำปาง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นประจำทุกปีเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมและมีแนวโน้มมากขึ้นในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นที่ป่าไม้ และสัตว์ป่าแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในพื้นที่จังหวัด ระบบคมนาคมขนส่ง และเศรษฐกิจของจังหวัดด้วย สำหรับสาเหตุการเกิดไฟป่า พบว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุของการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกร และการเผาป่าเพื่อทำการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในครั้งต่อไป สาเหตุหลักอีกประการหนึ่ง คือการจุดไฟเผาป่าเพื่อหาของป่า

เอสซีจีจึงมีนโยบายการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายลดก๊า:คาร์บอนไดออกไซด์ (Net Zero Emission) และนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากการใช้ฟอสซิล เป็นที่มาในการจัดทำโครงการ “ชุมชนต้นแบบ ลดการเผา” โดยบูรณาการความมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ชุมชน และเอกชน ตามโมเดลต้นแบบ
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด มีนโยบายการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Net Zero Emission) จากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ประกอบกับภาครัฐ มีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากการใช้ฟอสซิล ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวมวล จากเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ป่า โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายในการขยายไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา อีกด้วย จึงเป็นที่มาในการจัดทำโครงการ “ชุมชนต้นแบบ ลดการเผา” โดยบูรณาการความมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ชุมชน และเอกชน


ประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- ลดพื้นที่การเผาในที่โล่งแจ้งจำนวน 7,075 ไร่
- เกิด “ชุมชนต้นแบบ ลดการเผา” จำนวน 8 ชุมชน และเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนในพื้นที่อื่น ๆ
- ลดผลกระทบด้านสุขภาพ
- สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพร้อมทั้งรายได้เข้าสู่ชุมชน
- ส่งเสริมนโยบายภาครัฐ
ปัจจุบันบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ใช้เชื้อเพลิงทดแทน แกลบ ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ไม้สับ RDF ปริมาณทั้งหมด 96,000 ตัน/ปี ร้อยละ 16 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด โดยในปี 2022 ตั้งเป้า
ใช้เชื้อเพลิงทดแทนปริมาณทั้งหมด 144,000 ตัน/ปี ร้อยละ 24 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด