bg

About ESG

ทำไมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จึงตื่นตัวลุกขึ้นมาให้ความสำคัญ กับ “ESG”
about
Climate Crisis
สภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง
about
Loss of Nature
ทรัพยากรเสี่ยงขาดแคลน
about
Social Inequality
สังคมเกิดความเหลื่อมล้ำ
รายงานความเสี่ยงประจำปี 2021 (The Global Risks Report 2021 16th Edition) จาก World Economic Forum (WEF)
ระบุว่า สภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและความล้มเหลวในการจัดการด้านภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลจากการเข้าถึงและการใช้ดิจิทัลที่แตกต่างกัน รวมทั้งความปลอดภัยทางไซเบอร์
คือความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดในอีกสิบปีข้างหน้า ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผล
ทำให้เกิดวิกฤตในการดำรงชีวิตในโลกของเรา
น้ำท่วม
ความแห้งแล้ง
ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์
ที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า
การเกิดไฟป่า ส่งผลให้ก๊าซ CO2 พุ่งสูงสุดขึ้น ด้านสหภาพสากลว่าด้วย
การอนุรักษ์ ให้ข้อมูลว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้สิ่งมีชีวิตอย่างน้อย
1 ใน 4 จะสูญพันธุ์ และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ระบุว่า ประชากรกว่า 420 ล้านคน
ต้องเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรง ขณะที่ประเทศไทยแล้งสุดในรอบ 40 ปี
แต่ช่วงปลายปี 2563 พื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศไทยเกิดปัญหาน้ำท่วม
รุนแรงฉับพลัน จะเห็นได้ว่า ทั่วโลกได้ถึงจุดที่ Climate Change
ยกระดับสู่ “Climate Crisis”
kids

นอกจากนี้ การอุปโภค-บริโภคอย่างสิ้นเปลือง ตามจำนวนประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 9.6 พันล้านคน ในปี 2050 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานตัวเลขไว้ ได้ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกเข้าสู่สภาวะขาดแคลน

trash

นอกจากนี้ การอุปโภค-บริโภคอย่างสิ้นเปลือง ตามจำนวนประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 9.6 พันล้านคน ในปี 2050 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานตัวเลขไว้ ได้ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกเข้าสู่สภาวะขาดแคลน

จากการสูญเสียสมดุลทางชีวภาพ มีการคำนวณไว้ว่า หากเราต้องการให้มีทรัพยากรอย่างเพียงพอ เราต้องมีโลกถึง 3 ใบ ในอีกด้านหนึ่ง ทุกวันนี้การใช้ชีวิตในรูปแบบ Now Normal ยิ่งทำให้มีขยะมูลฝอยทั่วโลกตกค้างในสิ่งแวดล้อมมากถึง 2 พันล้านตัน และจะมีมากถึง 3.4 ล้านตันในปี 2050 ตามรายงานของ World Economic Forum ซึ่งการศึกษาของ Jambeck และ คณะในปี 2015 ที่ได้นำเสนอไว้ในบทความของ SDG MOVE ระบุว่า ประเทศในอาเซียน อย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย ติด 10 อันดับแรกของประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด

people

แม้โลกได้ก้าวสู่ความเจริญในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน ก็นำไปสู่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สถานการณ์โควิด 19 ได้ ยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาดังกล่าวขยายวงกว้างขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ รายงานว่า คนตกงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น เป็น 205 ล้านคน สอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ประเมินว่า ในปี 2022 แรงงานไทยกว่า 4.74 ล้านคน เสี่ยงถูกเลิกจ้าง และรายได้ลดลงรุนแรง เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของราคาแพง ไม่พียงแค่นั้น รากฐานสำคัญอย่างการศึกษาก็สั่นคลอน โดยเฉพาะ เด็กไทยกว่า 1.9 ล้านคน เสี่ยงถูกทิ้งออกจากระบบการศึกษา ตามการประเมินของกระทรวงศึกษาธิการ

... เมื่อเรามีโลกแค่ 1 ใบที่กำลังเผชิญกับวิกฤตซ้ำซ้อนการเริ่มต้นร่วมมือกัน
หันกลับมาดูแลโลกใบนี้อย่างเร่งด่วน
จึง “ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด” ของมวลมนุษยชาติ ที่ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ...

... เมื่อเรามีโลกแค่ 1 ใบ
ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตซ้ำซ้อน
การเริ่มต้นร่วมมือกัน
หันกลับมาดูแลโลกใบนี้อย่างเร่งด่วน
จึง “ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด”
ของมวลมนุษยชาติ
ที่ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ...

แล้ว ESG คืออะไร

มีการรวมตัวของผู้ลงทุนจากสถาบันทั่วโลกในชื่อ UN PRI (Principles for Responsible Investment)
ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ ได้สนับสนุนหลักปฏิบัติสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
โดยเน้นการนำ ประเด็นด้าน “ESG” ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ธุรกิจควรเติบโตควบคู่ไปกับการคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก
คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งล้วนมีความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน พร้อมช่วยสนับสนุนธุรกิจให้เติบโต
มาประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการลงทุน ตลอดจน ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยข้อมูลด้าน “ESG”
อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่ามีส่วนร่วมสนับสนุนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ
อย่างมีความรับผิดชอบและเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง

“ESG” จึงเป็นกรอบการพัฒนาที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Environmental

หมายถึง
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

Social

หมายถึง
การจัดการด้านสังคม

Governance

หมายถึง
การจัดการด้านธรรมาภิบาล

Environmental

หรือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม คือการเน้นใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท

องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs

  • น้ำสะอาดและสุขอนามัย (Clean water and Sanitation) ซึ่งครอบคลุมการเข้าถึงน้ำ อุปโภคบริโภคเพียงพอและได้มาตรฐานสำหรับทุกคน
  • พลังงานสะอาดและราคาถูก (Affordable and Clean Energy) ที่ประชาชนสามารถเข้าถึง และหาซื้อพลังงานหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น เพื่อให้พร้อมต่อการเข้าสู่ยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
  • การบริโภคและผลิตอย่างรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production) ด้วยการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ตลอดจนพฤติกรรมของประชาชนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อสร้างการบริโภคที่ยั่งยืน
  • แก้ปัญหาโลกร้อน (Climate Action) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ระบบนิเวศบนบก (Life on Land) ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งต้องมีกระบวนการบริหาร จัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน
  • ทรัพยากรทางทะเล (Life Below Water) โดยต้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและ ระบบนิเวศทางทะเลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความยั่งยืนของท้องทะเล

Social

หรือ การจัดการด้านสังคม คือการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม รวมถึงดูแลความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ตั้งแต่พนักงานของบริษัทไปจนถึงลูกค้า ชุมชน และผู้ที่ทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เช่น ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและสภาพ การทำงานที่ปลอดภัย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน ความหลากหลาย ความเท่าเทียมกัน และมาตรการต่อต้านการทุจริต รวมถึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบด้าน ด้วยการสนับสนุนสังคมในเชิงรุกผ่านการริเริ่มโครงการและกิจกรรมต่างๆ

องค์ประกอบด้านสังคม ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs

  • ความยากจนต้องหมดไป (No Poverty) โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเปราะบาง ให้สามารถ เข้าถึงทรัพยากรและบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนรับมือกับภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคม
  • สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) ด้วยระบบการบริการสุขภาพ ที่ทันสมัย เข้าถึงได้ และมีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และพัฒนาประเทศ
  • การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) ครอบคลุม และเท่าเทียมสำหรับทุกคน เพื่อเป็นโอกาสในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
  • ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) และเพิ่มบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน เพื่อส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities) เพื่อเพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการดำรงชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

Governance

หรือ การจัดการด้านบรรษัทภิบาล คือการมีนโยบายที่ใช้กำกับดูแลกิจการที่ดี ดำเนินงาน อย่างโปร่งใส เป็นธรรม รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ต่อต้านการทุจริต รวมถึงมีวิธี การดำเนินงานที่วิธีจัดการความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ตลอดจนดูแลผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย

องค์ประกอบด้านบรรษัทภิบาล ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs

  • การบริโภคและผลิตอย่างรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production) ด้วยการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ตลอดจนพฤติกรรมของประชาชนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อสร้างการบริโภคที่ยั่งยืน
  • สันติภาพ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (Peace, Justice and Strong Institutions) เพื่อส่งเสริมสังคมที่สงบสุข
  • ร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) ให้เกิดขึ้นในทุกประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน “แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” โดยใช้กรอบ “ESG” กำลังได้รับความสนใจ
อย่างกว้างขวาง ทั้งจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญกับ
การลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งของกิจการ
และสังคมโดยรวม โดยจะใช้ผลการดำเนินงานด้าน “ESG” ของธุรกิจ จากตัวชี้วัดทั้ง 3 ด้านนี้
มาเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณา เพื่อประเมินความยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขัน
ในระยะยาวของธุรกิจ และความสามารถในการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
สำหรับการตัดสินใจลงทุน สะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนต้องการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
และแสวงหาผลตอบแทนที่ไม่ใช่อยู่ในรูปของผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการ
เห็นการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของกิจการมากขึ้นด้วย

“ESG” เป้าหมาย “ความยั่งยืน”

ของภาคธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนโลก SDGs

goal

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
(Sustainable Development Goals)

เป็นกรอบการพัฒนาของโลกภายหลังปี ค.ศ. 2015 ที่องค์การสหประชาชาติ (United Nation - UN) กําหนดขึ้น มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย มุ่งหวังจะช่วย แก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่

goal

แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ
แบบองค์รวมของประเทศไทย
(BCG Economy)

ที่พัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด ควบคู่กับการพัฒนาสังคม และการรักษา สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล นำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0

goal

ตัวชี้วัดการดำเนินงาน “ESG”
(Environmental , Social, Governance)

ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ขององค์กร ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ของนักลงทุน

ที่มา : https://thailand.un.org/th/sdgs/17

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) จึงกลายเป็นคำตอบที่ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาและวิกฤตโลกที่เกิดขึ้น เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการ ของคนรุ่นหลัง (Brundtland Report, 1987) โดยการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเติบโต ทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)
ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) เป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน กำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศ ดำเนินการร่วมกัน โดยมีปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่ 1. การพัฒนา (People) 2. การดูแลสิ่งแวดล้อม (Planet) 3. การสร้างเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) 4. การสร้างสันติภาพและความยุติธรรม (Peace) 5. ความเป็นหุ้นส่วน การพัฒนา (Partnership) ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม
ในขณะที่ แนวคิด “ESG” เป็นตัวชี้วัดในมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งครอบคลุมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการดำเนินงาน รวมทั้งประเมินผลเป็นรูปธรรม และเป็นมาตรฐานของทุกธุรกิจมากขึ้น
สำหรับภาครัฐ การสนับสนุนแนวคิด “ESG” จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีกลยุทธ์ กระบวนการ ตัวชี้วัด ที่เชื่อมโยงกัน ทุกภาคส่วน
bcg

ที่มา: https://www.bcg.in.th/background/

leaf

เ พื่ อ โ ล ก ที่ ดี ขึ้ น

ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ “คือหน้าที่ของทุกคน”

แม้จุดเริ่มต้นประเด็นด้าน “ESG” จะมุ่งไปที่การขับเคลื่อนจากภาคธุรกิจ
แต่การแก้ปัญหาและวิกฤตที่เป็นความท้าทายระดับโลกให้สำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนของพวกเราทุกคน

wh

เป้าหมายตามแนวทาง “ESG” สำหรับรัฐบาล

  • พัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนด้วยการมุ่งเน้นด้านสุขภาพ การศึกษา และการปกป้องสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมความสามัคคีทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
  • ปกป้องประเทศ ประชาชน และเศรษฐกิจจากผลกระทบของปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภาวะเศรษฐกิจโลก
board

เป้าหมายตามแนวทาง “ESG” สำหรับธุรกิจ

  • การระบุประสิทธิภาพของต้นทุนและทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
  • การสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและดึงดูดการลงทุน
  • การระบุและการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ESG เพื่อสร้างความยืดหยุ่นขององค์กร
  • ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ESG เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทั้งในปัจุบันและอนาคต
  • ลดความเสี่ยงด้านกฎระเบียบที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
  • สร้างความไว้วางใจของผู้บริโภค นักลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์กร ขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่ และเพิ่มรายได้
people

เป้าหมายตามแนวทาง “ESG” สำหรับประชาชน

  • ปรับค่านิยมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของตัวเอง แล้วสะท้อนค่านิยมนั้นไปถึง รัฐบาล องค์กรธุรกิจให้รับรู้ถึงค่านิยมที่เกิดขึ้น
  • การตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม
  • ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียม
  • มีส่วนร่วมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและสร้างอนาคตที่ดีกว่า
  • สังคมกำลังขับเคลื่อน ESG ผ่าน “พลังของคน” การเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของประชาชนมีความสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
left right
leaf

แล้ว ESG วัดผลอย่างไร?

การวัดผลสำเร็จของ ESG จะพิจารณาจากการเปิดเผยข้อมูลของธุรกิจ ที่แสดงให้เห็นถึง
การดำเนินธุรกิจและบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการพิจารณาลงทุน ธุรกิจที่มีการ
เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ถูกต้อง และครบถ้วนก็จะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย
และดึงดูดให้ผู้ลงทุนเกิดความสนใจ

รายงานของ KPMG เรื่อง Impact of ESG Disclosure อธิบายว่า ผู้ลงทุนชั้นนำระดับโลก เช่น BlackRock
และ Vanguard นิยมใช้ข้อมูล ESG มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบริษัทในระยะยาว เช่น ข้อมูลการใช้พลังงาน
ที่สะท้อนต้นทุน และความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานของธุรกิจ รวมทั้งมีการนำปัจจัยด้าน ESG มาเป็น
ส่วนหนึ่งในเงื่อนไขการออกผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน เช่น กองทุน และ ETFs โดยเชื่อว่าธุรกิจที่คำนึงถึง
หลักการ ESG จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการ
สร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(https://www.setsustainability.com/page/disclosure)

ขณะที่ สหประชาชาติที่สนับสนุนการรวมตัวของผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกภายใต้ชื่อ UN PRI
(Principles for Responsible Investment) เพื่อสนับสนุนหลักปฏิบัติสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
เน้นการนำประเด็นด้าน ESG มาประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการลงทุน รวมทั้งส่งเสริมให้
ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่า
มีส่วนร่วมสนับสนุนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ในระดับโลกจึงมีการจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยมีกรอบการรายงานระดับสากลมีหลากหลายมาตรฐาน เช่น
GRI Standards, Integrated Report Framework, Recommendations of the Task Force on
Climate-related Financial Disclosures (TCFD) เป็นต้น โดยมี ESG Rating Agency
เป็นผู้ประเมินดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท
เช่น Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) , Sustainalytics, Morgan Stanley Capital International (MSCI),
Carbon Disclosure Project (CDP)

ด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการจัดทำรายชื่อ “หุ้นยั่งยืน” ของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึง ESG แม้ว่าส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก
แต่ในปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนหลายรายมีการนำข้อมูลด้าน ESG มาจัดทำรายงานความยั่งยืน (sustainability report)
เพื่อเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชน ควบคู่กับรายงานข้อมูลทางการเงิน
เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนไทยในมิติการลงทุนที่ยั่งยืน
(https://www.setsustainability.com/page/thsi-thailand-sustainability-investment)

เมื่อโลกที่เราอยู่กำลังเผชิญกับปัญหาและความท้าทายรอบด้าน SCG เชื่อว่า “ESG”
ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือ เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวให้กับธุรกิจ
แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
ในฐานะ “พลเมืองที่ดี” ได้ลุกขึ้นมาร่วมมือกันแก้ไขวิกฤตทั้ง 3 ด้าน
ที่เกิดขึ้น เราจึงมีหน้าที่ในการหาหนทางเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ปัญหา
ตามศักยภาพที่เราทำได้ เพื่อร่วมกันนำพา “โลกใบนี้”ไปสู่ความยั่งยืน
และส่งต่อโลกใบนี้ที่ดียิ่งขึ้นให้คนรุ่นต่อไป ...

เราต้องร่วมมือกันหันกลับมาดูแลโลกใบนี้อย่างเร่งด่วน
logo

เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก