หน้าหลัก > ธุรกิจเอสซีจี

ธุรกิจเอสซีจี

       

SCGC ธุรกิจเคมิคอลส์

 

SCGC ปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือวัฏจักรปิโตรเคมีขาลง ต้นทุนวัตถุดิบที่ผันผวน และความต้องการสินค้าที่ลดลง ตามสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยในปี 2565 ได้เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก มียอดขายเติบโตกว่า 5 เท่าในปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจรีไซเคิลในทวีปยุโรป และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิต ลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดอยู่เสมอ รวมถึงทบทวนจัดลำดับความสำคัญ ในการลงทุนโครงการต่าง ๆ ให้เหมาะสม เพื่อรักษาสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง โดยยังคงรักษาความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน เตรียมพร้อมการผลิต เชิงพาณิชย์ของโครงการ Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) ปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรแห่งแรกในเวียดนาม สู่ตลาดในช่วงกลางปี 2566 รวมถึงสร้างโอกาสเติบโตในธุรกิจใหม่ เพื่อเสริมศักยภาพของ SCGC ในอนาคต

ผลการดำเนินงาน ปี 2565


ความท้าทายของธุรกิจ

SCGC เผชิญกับความท้าทายจากวัฏจักรปิโตรเคมีขาลง ด้วยสาเหตุจากกำลังการผลิตใหม่จากจีนที่ออกมาในปริมาณมาก อีกทั้งความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยจากภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายโควิด 19 เป็นศูนย์ ของจีน ทั้งหมดนี้ทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 โดยมีส่วนต่างราคา PE-N และ PP-N ลดลงกว่า 22% และ 35% ตามลำดับเมื่อเทียบ กับปี 2564 เป็นเหตุให้ SCGC ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อ ลดผลกระทบจาก สถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานของธุรกิจ

SCGC มีรายได้จากการขายรวม 236,587 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายสินค้าที่ลดลงขณะที่ EBITDA และกำไรสำหรับปี 2565 เท่ากับ 17,745 และ5,901 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 57 และร้อยละ 80 จากปีก่อนตามลำดับ เนื่องจากส่วนต่างระหว่าง ราคาผลิตภัณฑ์และราคาวัตถุดิบ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง

การปรับตัวขององค์กรเพื่อตอบรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2565

ด้านการเงิน

  • การบริหารจัดการเพื่อเสริมเสถียรภาพและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดย SCGC ประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้ มูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท สะท้อนความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ และความเป็นผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน
  • พิจารณาลงทุนอย่างรอบคอบ จัดสรรงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับ การลงทุนตามกลยุทธ์หลักของบริษัท เช่น การลงทุนในบริษัทรีไซเคิลที่ยุโรป โครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเวียดนาม หรือ Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) รวมถึงการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอีกทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อความปลอดภัย ของพนักงานและคู่ธุรกิจ เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

ด้านธุรกิจ

  • บริหารการผลิตและการขายตลอดห่วงโซ่คุณค่า ให้ทันต่อสถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการขายไปยังตลาดที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง (HVA) เช่่น เม็ดพลาสติกจากเทคโนโลยี SMX™ เม็ดพลาสติกสำหรับผลิตท่อคุณภาพสูง เม็ดพลาสติกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
  • พัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก SCGC GREEN POLYMERTM ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการตอบรับ เป็นอย่างดีจากตลาดโลก มียอดขายกว่า 140,000 ตัน เติบโตกว่า 5 เท่า ในปีที่ผ่านมา
  • เม็ดพลาสติก HDPE จากเทคโนโลย SMX™ สำหรับฟิล์มเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และยังสามารถผสมเม็ดรีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 30 โดยยังคงความแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับเม็ดพลาสติกทั่วไป
  • นวัตกรรมสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ (Barrier Coating Technology) สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน ทำให้ใช้วัสดุเพียงประเภทเดียวกันทั้งชิ้นงานได้ (Mono-Material) ให้สามารถนำบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการทดสอบและรับรองมาตรฐานสากลจาก RecyClass เป็นรายแรกในอาเซียน
  • รุกตลาดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: PCR) ในประเทศไทยและทวีปยุโรป กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก รองรับความต้องการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในโปรตุเกส มีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 36,000 ตันต่อปี พร้อมลงทุนขยายการผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงเพิ่มอีก 9,000 ตันต่อปี ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 โดยนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรใหม่ มาพัฒนากระบวนการล้างและกำจัดกลิ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลููกค้า และเจ้าของแบรนด์สินค้าที่ต้องการสินค้าคุณภาพ และการเข้าลงทุนหุ้นร้อยละ 60 ใน Recycling Holding Volendam B.V. หรือ คราส (Kras) ผู้นำพลาสติกรีไซเคิลครบวงจร ตั้งแต่การจัดการพลาสติกใช้แล้วไปจนถึงผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล และมีกำลังการผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง 9,000 ตันต่อปีและจะเพิ่มขึ้น 2 เท่่าในปี 2566
  • เปิดตัวนวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง Circular PP ภายใต้เทคโนโลยี Advanced Recycling เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้ว เป็นเม็ดพลาสติกใหม่ และยังได้ร่วมกับ TOYO Engineering ผู้นำด้านวิศวกรรมระดับสากล ศึกษาความเป็นไปได้ ในการขยายกำลังการผลิต ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวอีกด้วย
  • นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ SCGC ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น การนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาช่วยในการบริหารจัดการ ต้นทุนวัตถุดิบ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและขาย ใช้เทคโนโลยีแบบจำลอง (Digital Twin & Advanced Process Control) ในการสร้างระบบ Always Optimization เพื่อช่วยคาดการณ์ วิเคราะห์ และแสดงข้อมูลการผลิตรายนาที ทำให้วางแผนผลิตและขายผลิตภัณฑ์ที่ได้กำไรสูงสุดอยู่เสมอ
  • เตรียมความพร้อมในการเดินโรงงานของโครงการ Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) คอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีครบวงจร แห่งแรกในเวียดนาม และวางแผนการบริหารการขาย การจัดการผลิตภัณฑ์ สร้างฐานลูกค้า และวางระบบต่าง ๆ ให้พร้อมเริ่มดำเนินการผลิต เชิงพาณิชย์และรองรับสถานการณ์ตลาด ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ พร้อมเน้นย้ำให้ความสำคัญ กับความปลอดภัยของพนักงาน และคู่ธุรกิจ เพื่อพร้อมเข้าสู่ตลาดในช่่วงกลางปี 2566
  • ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของ SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) จากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยได้มีการติดตาม สถานการณ์เศรษฐกิจ และปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เพื่อประเมินช่่วงเวลา ที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป
  • พัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูงหรือ High Value Added (HVA) อย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการนวัตกรรม (Innovation Management) และศูนย์นวัตกรรม i2P โดยยกระดับกระบวนการสร้างนวัตกรรมให้มีความรวดเร็ว ยืดหยุ่นตามสถานการณ์เพิ่มประสิทธิภาพ การวิจัย การพัฒนาการผลิต มีโครงการพัฒนานวัตกรรมกว่า 100 โครงการ และผลิตภัณฑ์ใหม่เฉลี่ยปีละ 20-25 รายการ ซึ่งคาดว่าจะทำกำไรเพิ่มให้กับ SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) ได้มากกว่า 400 ล้านบาทต่อปี
  • ลงนามสัญญาบริษัท Denka Company Limited (Denka) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต และจำหน่ายอะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene Black) ผลิตภัณฑ์คาร์บอนแบล็กชนิดพิเศษที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ตั้้งเป้ากำลังการผลิตปีละประมาณ 11,000 ตัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิต ได้ในต้นปี 2568

ด้านคน

  • ต่อยอดพัฒนาเตรียมความพร้อมพนักงานของไทย และต่างชาติในเวียดนาม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างเต็มความสามารถ ตามมาตรฐานของบริษัท และสอดคล้องตามกฎหมายของเวียดนาม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียน ผ่าน บังคับบัญชา และผ่านการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง รวมถึงการเดินทางมาเพื่อศึกษา และปฏิบัติงานในไทย อีกทั้งสนับสนุนการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมผ่านการทำกิจกรรม

การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เพื่อความยั่งยืน

  • SCGC ประกาศเป้าหมายด้าน ESG มุ่ง “ นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ในภูมิภาคอาเซียน” เดินหน้าขับเคลื่อน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และมุ่งลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการมีประสิทธิภาพด้านพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงการยกระดับ คุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ส่งเสริมอาชีพ และสร้างวิถีสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกและสังคมที่ยั่งยืน
  • เร่งพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Polymer) ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยตั้งเป้ายอดขาย 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573
  • มุ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 ด้วยแนวทาง “Low Carbon Low Waste” ได้แก่ การปรับปรุง หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการและอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้ พลังงานสะอาดทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาและลงทุนในเทคโนโลยี ไม่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศ การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset)
  • นับตั้งแต่ปี 2550 – 2565 SCGC สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แล้วถึง 577,130 ตันต่อปี หรือร้อยละ 14.4 จากปีฐาน 2564 นอกจากนี้้ในปี 2565 ยังมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมเติม ปัจจุบัน SCGC มีการใช้พลังงานไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ ทั้งหมด 11,431 MWh หรือร้อยละ 0.7 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวม
  • ด้านการพัฒนาสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมดี สังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านโครงการ “ปลูก เพาะ รัก” เพิ่่มพื้นที่สีเขียวให้ กับจังหวัดระยอง ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ และพนักงาน ในการปลูกป่าชายเลนและป่าบก โดยได้ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 230,000 ต้น เพิ่มการดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 2,995 ตันคาร์บอน นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการ “ถุงนมกู้โลก” และโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 483 ตันคาร์บอน
  • สนับสนุนการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างรายได้จากฟื้นฟูทรัพยากรน้้ำบนพื้นที่แห้งแล้งบนเขายายดา จังหวัดระยอง ร่วมกับชุมชน ภาครัฐ และนักวิชาการ ต่อเนื่องนับ 10 ปีผ่านแนวคิด “เก็บน้้ำดี มีน้้ำใช้” เกิดการจัดการอย่างยั่งยืน ทำให้ชุมชนกลับมามีน้้ำเพียงพอ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมทั้งพัฒนาทักษะให้แก่วิสาหกิจชุมชนระยอง นำนวัตกรรมมาพัฒนาสินค้า ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลทางการเงิน (ล้านบาท)

  2565 2564 2563 2562 2561
ข้อมูลจากงบแสดงฐานะการเงิน
สินทรัพย์หมุนเวียน 71,581 83,483 55,275 49,258 55,241
สินทรัพย์ 387,154 377,174 283,614 230,543 213,263
หนี้สิน 197,806 186,092 125,102 76,364 57,028
ส่วนของผู้ถือหุ้น 189,348 191,082 158,512 154,179 156,235
ข้อมูลจากงบกำไรขาดทุน
รายได้จากการขาย 236,587 238,390 146,870 177,634 221,538
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย * 243,839 214,152 130,668 167,535 196,813
กำไรสำหรับปี ** 5,901 28,931 17,667 15,480 29,166
EBITDA *** 17,745 41,465 30,965 32,258 46,117

* ปี 2562 มีการจัดประเภทรายการใหม่ และปี 2561 มีการปรับการแสดงข้อมูลตามส่วนงานธุรกิจ
** กำไรสำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
*** กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม