หน้าหลัก > รู้จักเอสซีจี

รู้จักเอสซีจี

สารจากคณะกรรมการ

ปี 2565 เกิดวิกฤตซ้อนวิกฤตทั่วโลกจากความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ต้นทุนพลังงานพุ่งสูงสุดในรอบ กว่า 10 ปี รวมทั้งวัฏจักรปิโตรเคมี อยู่ในช่วงขาลงต่ำสุดในรอบ 20 ปี อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อสูง ประกอบกับนโยบายโควิด 19 เป็นศูนย์ของจีน ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและธุรกิจ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

เอสซีจีเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่่อบรรเทาผลกระทบที่มีต่อธุรกิจโดยรวม มุ่งรักษาเสถียรภาพการเงินให้้มั่นคง คุมเข้มสภาพคล่องอย่างเคร่งครัด ลดต้นทุน เน้นลงทุนอย่างรอบคอบ ในธุรกิจศักยภาพสูงและยั่งยืน รุกธุรกิจใหม่ตอบเมกะเทรนด์โลก เตรียมคว้าโอกาสเศรษฐกิจฟื้น ด้วยธุรกิจพลังงานสะอาด นวัตกรรมกรีนโซลูชันสุขภาพและการแพทย์ และสมาร์ทลิฟวิ่ง (Smart Living Solution) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทีดี ให้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก คุ้มค่า ปลอดภัย และรักษ์โลกยิ่งขึ้น

ฐานะการเงินโดยรวมของเอสซีจี ณ สิ้นปี 2565 มั่นคง ผลประกอบการโดยรวม มีรายได้จากการขายรวม 569,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อน และมีกำไรสำหรับปี 21,382 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 55 จากปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว ปิโตรเคมีขาลงต่ำสุดในรอบ 20 ปี ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นอย่างมาก โดยปี 2565 เอสซีจีมียอดขายสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services: HVA) 195,520 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของยอดขายรวม อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net Debt to Equity) มีสัดส่วน 0.6 เท่า กระแสเงินสดมีเสถียรภาพมั่นคง คณะกรรมการบริษัท จึงมีมติเสนอให้ที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 อนุมัติการจ่ายเงินปันผล ประจำปี 2565 เป็นเงินทั้งสิ้น 9,600 ล้านบาท หรือในอัตราหุ้นละ 8.0 บาท คิดเป็นร้อยละ 45 ของกำไรสำหรับปีตามงบการเงินรวม แบ่่งเป็นเงินปันผลระหว่างกาล ในอััตราหุ้นละ 6.0 บาท และเงินปันผลประจำปีส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 2.0 บาท

  เสถียรภาพการเงินมั่นคง เงินสดคงเหลือ 95,000 ล้านบาท  
 
     

ในภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤต เอสซีจีมุ่งเน้นเรื่องบริหารความเสี่ยง รักษาสภาพคล่องบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ให้ยืดหยุ่นและคล่องตัวสอดคล้องกับความต้องการตลาด พิจารณาการลงทุุน ตามกลยุทธ์อย่างรอบคอบ เน้นโครงการที่ดำเนินการใกล้จะเสร็จและได้รับผลตอบแทนรวดเร็ว ชะลอโครงการที่ไม่เร่งด่วน ส่งผลให้เงินสดคงเหลือแข็งแกร่ง 95,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2565

 
     

  มุ่งลดต้นทุน เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  
 
     

จากวิกฤตราคาพลังงานพุ่งสูง เอสซีจีมุ่งลดต้นทุนพลังงานในทุกทาง และเพิ่่มประสิทธิภาพการผลิต โดยในปี 2565 เอสซีจี เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 34 และใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 194 เมกะวัตต์ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการผลิต ยกระดับให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันระดับโลก อาทิ เทคโนโลยีแบบจำลอง (Digital Twin and Advanced Process Control) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) ผสานความร่วมมือของธุรกิจเซรามิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เพื่อบริหารกำลังผลิตภาพรวม อย่างมีประสิทธิภาพ (Multi-Plant Production Rationalization) รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตนวัตกรรม และสร้างมูลค่าส่วนเพิ่ม (Value Release)

 
     

  รุกธุรกิจพลังงานสะอาด (Energy Transition Solutions) ลดต้นทุน มุ่ง Net Zero  
 
     

เอสซีจี รุกเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดครบวงจร พัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) สำหรับตลาดที่อยู่อาศัย โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และโรงพยาบาล ด้วยระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Grid โดยในปี 2565 เอสซีจีมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งภายในและภายนอกบริษัทรวม 234 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 จากปีก่อน อีกทั้งลงทุนในนวัตกรรมแบตเตอรี่ กักเก็บความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Heat Battery) หรือ Thermal Energy Storage ไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีแสงแดด และมุ่งพัฒนาพลังงานชีวมวลคุณภาพสูง (Biomass และ Biocoal) จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเชื้อเพลิงจากขยะ (Refused Derived Fuel: RDF) เป็นพลังงานทางเลือก

 
     

  เร่งพัฒนานวัตกรรมกรีน ตอบเทรนด์รักษ์โลก  
 
     

คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจต่อการปรับเปลี่ยนมาใช้ สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เอสซีจีจึงเร่งพัฒนานวัตกรรมกรีน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดโลก ในปี 2565 SCG Green Choice เติบโตร้อยละ 34 เกินเป้าที่ตั้งไว้ ได้แก่ พลาสติกรักษ์โลก (Green Polymer) เติบโตกว่า 5 เท่า บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ รวมทั้งเทคโนโลยี CPAC Green Solution ที่ช่วยลดวัสดุก่อสร้างเหลือทิ้ง ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นเดียวกัน

 
     

  ปลอดภัย ไกลโรค ด้วยนวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์  
 
     

หลังจากวิกฤตโควิด 19 ผู้คนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เอสซีจีรุกเข้าสู่ธุรกิจสมาร์ทลิฟวิ่ง (Smart Living Solutions) เพื่อยกระดับชีวิตให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยนำเสนอนวัตกรรมบำบัดอากาศ และลดการใช้พลังงาน SCG Bi-ion และ SCG HVAC Air Scrubber ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนั้นพัฒนาเทคโนโลยีดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยทางไกล ด้วย DoCare เทคโนโลยีเชื่อมต่อบ้านกับโรงพยาบาล แบบเรียลไทม์ (Real Time) นอกจากนี้ SCGC ยังพัฒนาเม็ดพลาสติกเพื่อการแพทย์ อาทิ กระบอกฉีดยา สายและถุงน้ำเกลือ ขณะเดียวกัน SCGP ร่วมกับบริษัท Deltalab ประเทศสเปน ผลิตวัสดุอุปกรณ์การแพทย์จัดจำหน่ายทั่วโลก

 
     

  ขยายสู่ตลาดอาเซียนและโลก คว้าโอกาสเศรษฐกิจฟื้น  
 
     

ตลาดมีแนวโน้มเริ่มฟื้นตัวและเติบโตต่อเนื่อง เอสซีจีจึงขยายโครงการลงทุนที่มีศักยภาพสูงและยั่งยืน ทั้งในภูมิภาคอาเซียน และตลาดโลก อาทิ โครงการปิโตรเคมีครบวงจร (Long Son Petrochemicals Company Limited : LSP) ที่เวียดนาม พร้อมผลิตสินค้าสู่ตลาดภายในปี 2566 ส่งผลกำลังการผลิตปิโตรเคมี เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 เป็น 9.8 ล้านตันต่อปี นอกจากนั้น SCGC ขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ร่วมกับบริษัทซีพลาสต์ (Sirplaste) ประเทศโปรตุเกส ป้อนตลาดยุโรปและแอฟริกา และเข้าสู่ธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกครบวงจร ร่วมกับคราส (Kras) / Recycling Holding Volendam B.V. ผู้นำพลาสติกรีไซเคิลครบวงจรจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ การจัดการพลาสติกเหลือใช้ไปจนถึงผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล อีกทั้งร่วมลงทุนกับบริษัท Denka ประเทศญี่ปุ่น ผลิตอะเซทิลีนแบล็ค (Acelylene Black) ส่วนประกอบในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบชาร์จไฟได้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

นอกจากนี้ เอสซีจีเตรียมคว้าโอกาสเศรษฐกิจฟื้น ด้วยการยกระดับการให้บริการดิจิทัลโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่่สุดในอาเซียน โดยบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้้ลยูดีโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (SCGJWD) รองรับการขนส่งสินค้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ วัคซีน งานศิลปะมูลค่าสูง รถยนต์ อาหารแช่แข็ง พร้อมเครือข่ายครอบคลุมทั่วอาเซียนและจีน

 
     

  ESG ขับเคลื่อนโลกให้ยั่งยืน  
 
     

เอสซีจีขับเคลื่อนธุุรกิจ ภายใต้แนวทาง ESG 4 Plus “มุ่ง Net Zero - Go Green - Lean เหลื่อมล้้ำ - ย้ำร่วมมือ” โดยยึดหลักเชื่อมั่นและโปร่งใส ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยในปี 2565 เอสซีจีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.13 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าเทียบกับปีฐาน 2563 ด้วยการใช้พลังงานทางเลือก ปลูกต้นไม้ ทั้งยังร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ สร้างฝายชะลอน้้ำ เพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้ป่าต้นน้ำ มุ่งลดเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพ สร้างรายได้อีกทั้งจับมือพันธมิตรร่วมกัน แก้วิกฤตโลกรวน ลดความเหลื่อมล้้ำ ในงาน ESG Symposium 2022

 
     


  จากพระราชญาณทัศน์ สู่องค์กรนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน  
 
     

ตลอดระยะเวลา 110 ปี เอสซีจีได้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศตลอดมา เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดสินใช้ เอสซีจีได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญูกตเวที ที่ชาวเอสซีจีมีต่อพระองค์ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประดิษฐาน ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565

 
     

คณะกรรมการบริษัท ขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ร่วมทุน คู่ค้า คู่ธุรกิจ ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทุุกฝ่าย สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศที่ สนับสนุนการดำเนินงานด้วยดี ตลอดมา รวมทั้งพนักงานทุกคนที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทุ่มเทสรรพกำลังสร้างสรรค์ นวัตกรรมและโซลูชันให้ตรงใจลูกค้า ขอให้ความมั่นใจว่า เอสซีจีจะฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้ และสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเติบโตมั่นคง ควบคู่กับการดููแลสังคมและสิ่่งแวดล้อม โดยยึดหลักความโปร่งใสตามแนวทาง ESG พร้อมร่วมมือกับทุุกภาคส่วน เพื่อส่งมอบโลกที่น่าอยู่และยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป

กรุงเทพมหานคร วันที่ 25 มกราคม 2566





   
พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล
ประธานกรรมการ
 
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส
กรรมการผู้จัดการใหญ่